ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

น้ำส้มสายชูปลอม พิษ สะสม อันตรายถึงตาย!

น้ำส้มสายชูปลอม พิษ สะสม อันตรายถึงตาย!
น้ำส้มสายชู เครื่องปรุงที่สร้างรสเปรี้ยวให้อาหารหลากหลายชนิด เช่น ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ผสมในน้ำจิ้มต่างๆ และเพราะน้ำส้มสายชูที่ขายในตลาดนั้นมีหลายประเภท หากเลือกซื้ออย่างไม่ระวัง อาจพลาดไปซื้อน้ำส้มสายชูปลอมมาได้ ซึ่งหากรับประทานเข้าไปอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายถึงขั้นท้องร่วงอย่างรุนแรงได้

น้ำส้มสายชู โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 3 ประเภท

น้ำส้มสายชูหมัก คือ น้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักธัญพืช ผลไม้หรือน้ำตาล น้ำส้มสายชูชนิดนี้มีรสชาติกลมกล่อมกลิ่นหอม และมีเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ราคาค่อนข้างสูง

น้ำส้มสายชูกลั่น คือ น้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักแอลกอฮอล์กลั่นเจือจางกับเชื้อน้ำส้มสายชู จากนั้นนำไปกลั่นอีกครั้ง หรือนำน้ำส้มสายชูหมักมากลั่นนั่นเอง

น้ำส้มสายชูเทียม คือ น้ำส้มสายชูที่นำกรดน้ำส้ม(Acetic Acid) กรดอินทรีย์มีฤทธิ์กรดอ่อน ความเข้มข้น 95%มาเจือจางจนได้ปริมาณกรด 4-7%

ที่น่ากลัว คือมีการนำน้ำส้มสายชูปลอมมาจำหน่ายในตลาด ซึ่งมีราคาถูกผลิตจาก หัวน้ำส้ม ที่เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง สิ่งพิมพ์ สิ่งทอ และอาจปนเปื้อนโลหะหนัก หรือวัตถุเจือปนอื่นๆระหว่างกรรมวิธีการผลิต

เมื่อเข้าสู่ร่างกายทำให้พิษสะสมได้ การผสมกรดน้ำส้ม ที่ไม่ได้มาตรฐานในปริมาณที่สูงเกินไป ทำให้ผู้รับประทานเกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงได้นอกจากนี้ยังพบการนำกรดแร่อิสระบางชนิด เช่น กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟิวริก ซึ่งเป็นกรดแก่มาเจือจางด้วยน้ำมากๆ แล้วบรรจุขวดขาย เป็นกรดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง จึงอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร และตับ

การเลือกซื้อน้ำส้มสายชูให้ปลอดภัย ให้เลือกที่มีลักษณะใส ไม่มีตะกอนไม่มีเจือสี และมีปริมาณกรดน้ำส้ม4-7 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร หรือเลือกที่มีข้อความข้างขวดระบุว่า มีปริมาณกรดน้ำส้ม 4-7% รวมทั้งมีเครื่องหมาย อย. รับรอง

แต่หากไปกินอาหารนอกบ้านควรสังเกตน้ำส้มสายชูก่อนปรุงคือภาชนะที่ใส่น้ำส้มสายชูไม่ควรเป็นพลาสติก น้ำส้มสายชูอาจทำปฏิกิริยากับพลาสติกเกิดสารพิษที่ก่อเกิดโรคมะเร็งได้ และหากมีพริกดอง ให้สังเกตส่วนน้ำส้มที่อยู่เหนือพริกจะขุ่น เนื้อพริกมีสีซีดขาวและเปื่อยยุ่ย ไม่ควรกิน


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/12/08 13:47:18
อ่าน: 83, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุณภาพ มาตรฐาน น้ำส้มสายชู , ตรวจสารโลหะหนักในน้ำส้มสายชู , ตรวจน้ำส้มสายชู เพื่อ ขอ อย.



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 116 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 110 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 129 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 115 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 105 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 113 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 91 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 119 ความเห็น: 0
น้ำส้มสายชูปลอม พิษ สะสม อันตรายถึงตาย!
Update: 2565/12/08 13:47:18
อ่าน: 83 ความเห็น: 0
อันตราย !! สารปรอท (Mercury)
Update: 2565/12/08 13:23:03
อ่าน: 107 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022