ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

อันตราย !! สารปรอท (Mercury)

อันตราย !! สารปรอท (Mercury)
ปรอท เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีสีเป็นขาวคล้ายกับสีเงิน ซึ่งด้วยคุณสมบัติพิเศษปรอทจะเป็นของเหลวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ปกติและสามารถที่จะระเหยกลายเป็นไอได้ นอกจากนี้แล้วปรอทยังสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นโลหะแข็งได้อีกด้วย จึงทำให้ปรอทถูกนำมาใช้ประโยชน์หลากหลายได้ ซึ่งได้แก่ การนำใช้ในการผลิตเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า

อย่างเช่นในการทำสวิตช์อัตโนมัติสำหรับตู้เย็น เป็นตัวทำละลายที่ดีสำหรับโลหะบางชนิด และ ใช้ในอุตสาหกรรมการทำหมวกสักหลาด ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถช่วยในการยับยั้งไม่ให้เกิดการสร้างเม็ดสีในผิวหนัง โดยทำให้สีผิวนั้นดูจางลง จึงทำให้ปรอทถูกนำมาใช้ในเครื่องสำอาง ซึ่งมักนิยมนำมาใช้อยู่ 2 รูปแบบคือ

รูปแบบของ Inorganic Mercury อย่างเช่น Ammoniated Mercury ที่มักจะถูกนำมาผสมในเครื่องสำอางที่ช่วยให้หน้าขาว โดยปรอทที่ถูกผสมลงไปนั้นจะช่วยไปช่วยยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ส่งผลทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดสีได้

รูปแบบของ Organic Mercury อย่างเช่น Phenyl Mercuric Salts ที่มักถูกนำมาใช้เป็นสารกันเสียในเครื่องสําอางรอบดวงตา โดยปรอทมีข้อดี คือ สามารถที่จะยับยั้งการปนเปื้อนของเชื้อ Pseudomonas spp.ได้ ซึ่งหากเกิดการติดเชื้อจาก Pseudomonas spp. อาจจะส่งผลรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้ ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้กระทรวงสาธารณสุขจึงอนุญาตให้ใช้สารปรอทในเครื่องสำอางได้ แค่เฉพาะกรณีที่เป็นวัตถุกันเสียในเครื่องสําอางที่ใช้บริเวณรอบดวงตาเท่านั้น

โดยสารปรอทเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2532 แต่ในปัจจุบันก็ยังมีการนำสารปรอทที่เป็นโลหะหนักมาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์เสริมความงามกันเป็นจำนวนมาก โดยเมื่อไรที่พิษของปรอทสะสมในร่างกายแม้ได้รับในปริมาณน้อย แต่ก็สามารถทำให้คนที่ใช้ครีมมีผิวบางลง ส่งผลทำให้ผิวหรือบริเวณใบหน้าของเรามีความไวต่อแสงมากกว่าปกติ และอาจส่งผลทำให้เกิดเป็นผื่นแดงขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้วในผู้ใช้บางรายอาจส่งผลทำให้ผิวเกิดการเปลี่ยนสีกลายเป็นสีดำคล้ำ บางรายอาจมีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และเมื่อไรที่ร่างกายเกิดมีการดูดซึมสารปรอทเข้ากระแสเลือดก็จะส่งผลทำให้เกิดการอักเสบของตับ ไต และทางเดินปัสสาวะ ทั้งนี้อาจจะรวมไปถึงส่งผลต่อระบบประสาทและการทำงานของสมองด้วย


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/12/08 13:23:03
อ่าน: 267, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสารปรอท , ตรวจฉลากสินค้า , ตรวจสารสกัดในสินค้า



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 139 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 133 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 380 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 365 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 458 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 377 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 359 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 363 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 376 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 365 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022