ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์

ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์
ขมิ้นเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-95 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้าม เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด มีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

การปลูกเลี้ยง

ขมิ้นไม่ชอบอากาศค่อนข้างร้อนและไม่มีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน วิธีปลูกใช้แก้นิวที่อายุได้ 100 - 1,200 ปี ทำพันธุ์ตัดออกเป็นท่อนละ 1-2 ตา ปลูกลงแปลงหลังจาก 7 วันรากก็จะเริ่มงอกควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือนจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ แถมยังมีอะไรไม่รู้ออกมาตามลำต้น

รสและสรรพคุณยา

เหง้าของขมิ้นมีรสฝาด กลิ่นหอม สามารถเก็บมาใช้เมื่อมีช่วงอายุ 9-10 เดือน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และ มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชันมีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง อาจช่วยรักษาโรค รูมาตอยด์ได้ ยังไม่ยืนยันแน่ชัด ในตำรายาจีนเรียกเจียวหวง (ภาษาจีนกลาง) หรือ เกียอึ้ง (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยา แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดประจำเดือน

เหง้าขมิ้นมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่เรียกว่าเคอร์คูมิน สารสกัดด้วยเอทานอลจากเหง้าสดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ ขมิ้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง
อาหารที่ใช้ขมิ้นเป็นส่วนประกอบได้แก่แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกอและ แกงฮังเล ข้าวแขก ข้าวหมกไก่ ขนมเบื้องญวน และเป็นส่วนประกอบสำคัญของผงกะหรี่ ขมิ้นใช้ย้อมผ้าให้ได้สีเหลือง ถ้าใส่ใบหรือผลมะขามป้อมลงไปด้วยจะได้สีเขียว นอกจากนั้น ในการทำปูนแดง จะนำปูนขาวมาผสมกับขมิ้น ในสมัยก่อนนิยมเอาผงขมิ้นทาตัวให้ผิวเหลือง รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ใช้ทาศีรษะหลังโกนผม เพื่อรักษาบาดแผลที่เกิดจากการใช้มีดโกนโกนผม
วิธีใช้ประโยชน์

แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด อาหารไม่ย่อย อาการแสบคัน แก้หิว และแก้กระหาย ทำโดยล้างขมิ้นให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้

ขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษาขมิ้นชัน

การเตรียมการ 30 วัน 60 วัน 90 วัน 120 วัน 150 วัน 180 วัน 210 วัน 240 วัน 270 วัน

การเตรียมดิน
- ไถพรวนดิน ตากดินไว้ 1 – 2 สัปดาห์ - เก็บเศษไม้ ซากวัชพืช กรวด และหิน - ใส่ปุ๋ยคอก 4 ตันต่อไร่
- หากพื้นที่ปลูกเป็นที่ลุ่ม ยกร่องแปลงกว้าง 1 – 2 เมตร สูง 15 – 25 ซม
ระยะระหว่างร่อง 50 – 80 ซม

การเตรียมพันธุ์
- หัวแม่ น้ำหนัก 15 – 50 กรัม มีตา
2 - 3 ตา ใช้ 1 หัวต่อหลุม
- แง่ง น้ำหนัก 10 กรัม มีตา 2 - 3 ตา ใช้ 2 - 3 แง่ง ต่อหลุม
- ใช้ใบพลู เปล้าน้อย และต้นตะไคร้หอม บดแห้ง อัตรา 10,000 ppm คลุกกับหัวพันธุ์ก่อนปลูก

การปลูก
- ขุดหลุมปลูกลึก 10 – 15 ซม
- รองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอก 200-300 กรัม
- วางหัวพันธุ์ในหลุมปลูก กลบดินหนา
5 - 10 เซนติเมตร
- ระยะปลูก 35 50 เซนติเมตร

การปฎิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
- ล้างน้า ขัดผิวให้สะอาด ตัดแต่งเอารากและส่วนที่เสียของหัวทิ้ง ผึ่งให้สะเด็ดน้า
- หั่นขมิ้นชัน หนา1-2 มิลลิเมตร เกลี่ยให้บางบนถาด ตากแดด 3 วัน และอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 3 ชม.
- ขมิ้นชันแห้งนำมาบดเป็นผงโดยการตำหรือด้วยเครื่องบด
- ขมิ้นชันสดนามากลั่นน้ำมัน โดยวิธีการกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ ที่อุณหภูมิ 150-200 องศาเซลเซียส นาน 8-10 ชม.
- ขมิ้นชันแห้งบรรจุในภาชนะที่สะอาด แห้ง ปิดให้สนิท เก็บไว้บนชั้นวาง ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
นำออกมาผึ่งในที่ร่ม ทุก 3-4 เดือน

ศัตรูที่สาคัญและการป้องกันกำจัด
– โรคเหี่ยว ป้องกันกำจัดโดยใช้หัวพันธุ์ที่ปลอดโรค การปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าว ข้าวโพด การขุดต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย และโรยปูนขาวบริเวณหลุมปลูกที่ขุด
- เพลี้ยแป้ง ป้องกันกำจัดโดยใช้แมลงช้างปีกใส อัตรา 200 – 500 ตัวต่อไร่ และฉีดพ่นด้วยสารสะเดา

การใส่ปุ๋ย
- ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง หลังปลูก 1 เดือน และหลังปลูก 3 เดือน
- ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยชีวภาพ โรยเป็นแถวข้างต้น ห่างจากโคนต้น 8 – 15 ซม

การให้น้ำ
- ระยะแรก ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกว่าพืชจะตั้งตัวได้
- ให้น้ำน้อยลงในระยะหัวเริ่มแก่
- งดให้น้ำในระยะเก็บเกี่ยว

การกำจัดวัชพืช
- ถอนหรือใช้จอบดายพรวนดิน และกลบโคนต้น
- กำจัดวัชพืช 3 ครั้ง เมื่อขมิ้นชันเริ่มงอก หลังปลูก 3 เดือน และ 6 เดือน

การเก็บเกี่ยว
- เก็บในช่วงฤดูแล้ง เมื่อขมิ้นชันมีอายุ 9 – 11 เดือนขึ้นไป
- ให้น้ำดินพอชื้น ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ เก็บเกี่ยวโดยใช้จอบขุด ตัดแยกส่วนเหนือดินและเหง้า อย่าให้ผลผลิตเกิดบาดแผล

เทคนิคการปลูกและดูแลรักษาขมิ้นชัน

1. การเตรียมการก่อนปลูก

1.1 การเตรียมดิน

1) ไถพรวนดินให้ร่วนซุย อย่างน้อย 1 ครั้ง หากเป็นพื้นที่ที่หน้าดินแข็งหรือเป็นดินเก่า ควรไถพรวนไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง

2) ตากดินไว้ 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อทำลายไข่แมลงและเชื้อโรคในดิน

3) เก็บเศษไม้ ซากวัชพืช กรวด และหิน ออกจากแปลง

4) ใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 4 ตันต่อไร่ หากดินเป็นกรด ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

5) หากพื้นที่ปลูกมีสภาพเป็นที่ลุ่มหรือที่ราบต่ำ มีการระบายน้ำไม่ดี ควรยกร่องแปลงกว้าง 1 – 2 เมตร สูง 15 – 25 เซนติเมตร ความยาวตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ ระยะระหว่างร่อง 50 – 80 เซนติเมตร
1.2 การเตรียมพันธุ์2.3 จำนวนต้นต่อไร่
หัวพันธุ์ประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่
2. การปลูก
2.1 วิธีปลูก
1) ขุดหลุมปลูกลึก 10 – 15 เซนติเมตร และรองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอก หลุมละ 200-300 กรัม

2) วางหัวพันธุ์ในหลุมปลูก กลบดินหนา 5 - 10 เซนติเมตร หรือนาหัวพันธุ์
ไปเพาะก่อนนำไปปลูก โดยนำไปผึ่งในที่ร่ม คลุมด้วยปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายแล้ว นานประมาณ 30 วัน หัวพันธุ์จะแตกหน่อขึ้นมา จึงนำไปปลูกในแปลง

2.2 ระยะปลูก
กำหนดระยะปลูก 35 - 50 เซนติเมตร การปลูกในสภาพยกร่องใช้ระยะห่างระหว่างแถว 45-75 เซนติเมตร และระหว่างต้น 25-50 เซนติเมตร หากปลูกขมิ้นชันเป็นพืชแซม

3. การดูแลรักษา

3.1 การใส่ปุ๋ย
1) หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมในปีแรก

2) หากปลูกขมิ้นชัน 2 ปี ใส่ปุ๋ยคอก 300 – 500 กรัมต่อหลุม หลังจากดายหญ้าในฤดูฝน โดยใส่รอบโคนต้น

3) กรณีที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยชีวภาพ โรยเป็นแถวข้างต้น ห่างจากโคนต้น 8 – 15 เซนติเมตร ใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังปลูก 1 เดือน และครั้งที่สอง หลังปลูก 3 เดือน

3.2 การให้น้ำ
ระยะแรกควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอจนกว่าพืชจะตั้งตัวได้ และให้น้ำน้อยลงในระยะหัวเริ่มแก่ และงดให้น้ำในระยะเก็บเกี่ยว หากมีน้ำท่วมขัง ให้ระบายน้ำออกทันที

4. ศัตรูพืชที่สำคัญ
4.1 วัชพืช กำจัดโดยการถอนหรือใช้จอบดายออก พรวนดิน และกลบโคนต้นเพื่อให้เหง้าเจริญเติบโตดี

1) ปีที่ 1 กำจัดวัชพืช 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เมื่อขมิ้นชันเริ่มงอก ยาวประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร
ครั้งที่ 2 หลังการปลูก 3 เดือน
ครั้งที่ 3 ช่วงฤดูแล้ง

2) ปีที่ 2 กำจัดวัชพืช 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ช่วงฤดูแล้ง
ครั้งที่ 2 ช่วงฤดูฝน

4.2 โรค

โรคเหี่ยว ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ต้นมีอาการใบเหลือง ต้นเหี่ยว หัวเน่าและมีเมือกสีขาวข้น
ซึมออกมาตรงรอยแผล
การป้องกันกำจัด

- พื้นที่ปลูกมีการระบายน้ำดี ไม่เคยปลูกขมิ้นชันที่เป็นโรคหรือพืชที่เป็นพืชอาศัยของโรคมาก่อน

- หากเคยปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยของโรค ควรกำจัดวัชพืช ไถพรวน และผึ่งดินให้แห้งก่อนปลูกอย่างน้อย 1 เดือน

- หากแหล่งปลูกเคยมีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าว ข้าวโพด เป็นเวลา 3 ปี แล้วจึงกลับมาปลูกขมิ้นชันใหม่ หรือจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยยูเรียและปูนเผา อัตรา 70 : 800 กิโลกรัมต่อไร่

- ใช้หัวพันธุ์ที่ปลอดโรค โดยคัดเลือกมาจากแหล่งที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคมาก่อน

- การเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่าให้เกิดบาดแผล แยกผลผลิตที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย

1) การเก็บรักษาหัวพันธุ์ โดยวางผึ่งไว้ในที่ร่ม แห้ง สะอาด ปราศจากโรค แมลง และสัตว์ต่างๆ มารบกวน
มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือฝังเหง้าพันธุ์ในทรายหยาบที่สะอาด เย็น ในที่ร่ม

2) การจัดเตรียมหัวพันธุ์
- การปลูกโดยใช้หัวแม่ น้ำหนักประมาณ 15 – 50 กรัม ใช้ 1 หัวต่อหลุม หากหัวพันธุ์มีขนาดใหญ่มาก ให้ตัดเป็นท่อนๆ มีตาติดอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ตา
- การปลูกโดยใช้แง่ง น้ำหนักประมาณ 10 กรัม และมีตา 2 - 3 ตาต่อแง่ง โดยใช้ 2 - 3 แง่ง ต่อหลุม
- ใช้ใบพลู เปล้าน้อย และต้นตะไคร้หอม บดแห้ง อัตรา 10,000 ppm คลุกกับหัวพันธุ์ก่อนปลูก

4) การทำขมิ้นชันผง โดยนำใช้ระยะห่างระหว่างต้น 30 เซนติเมตรขมิ้นชันที่แห้งสนิทมาบดให้เป็นผงด้วยเครื่องบดที่สะอาดหรือด้วยการตำแล้วร่อนเอาเฉพาะผงขมิ้น ขมิ้นแห้ง 1 กิโลกรัม จะได้ขมิ้นผง 0.8 กิโลกรัม

5) การกลั่นน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชัน โดยหั่นขมิ้นชันเป็นชิ้นบางๆ ใส่ลงในหม้อกลั่น ใช้วิธีการกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ (water and steam distillation) ที่อุณหภูมิ 150-200 องศาเซลเซียส นาน 8-10 ชั่วโมง อัตราการกลั่นน้ำมันหอมระเหย ขมิ้นสด 1,000 กิโลกรัม ได้น้ำมันขมิ้นชัน 2 กิโลกรัม

6)การทำขมิ้นชันผง โดยนำขมิ้นชันที่แห้งสนิทมาบดให้เป็นผงด้วยเครื่องบดที่สะอาดหรือด้วยการตำแล้วร่อนเอาเฉพาะผงขมิ้น ขมิ้นแห้ง 1 กิโลกรัม จะได้ขมิ้นผง 0.8 กิโลกรัม

7)การกลั่นน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชัน โดยหั่นขมิ้นชันเป็นชิ้นบางๆ ใส่ลงในหม้อกลั่น ใช้วิธีการกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ (water and steam distillation) ที่อุณหภูมิ 150-200 องศาเซลเซียส นาน 8-10 ชั่วโมง อัตราการกลั่นน้ำมันหอมระเหย ขมิ้นสด 1,000 กิโลกรัม ได้น้ำมันขมิ้นชัน 2 กิโลกรัม

5.4 การบรรจุและการเก็บรักษา

1) บรรจุขมิ้นชันที่แห้งแล้วในภาชนะที่สะอาด แห้ง และปิดให้สนิท

2) เก็บในที่แห้ง สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก

3) ไม่ควรวางวัตถุดิบขมิ้นชันให้สัมผัสกับพื้นโดยตรง ควรเก็บไว้บนชั้นวางหรือยกพื้น

4) นำวัตถุดิบขมิ้นชันออกมาผึ่งในที่ร่ม ทุก 3-4 เดือน

5) ไม่ควรเก็บวัตถุดิบขมิ้นชันไว้นาน เนื่องจากปริมาณน้ำมันหอมระเหยจะลดลงประมาณ 25%
เมื่อเก็บไว้นาน 2 ปี

6. ข้อมูลอื่นๆ
สารสำคัญในขมิ้นชัน คือ เคอร์คูมินอยด์และน้ำมันหอมระเหย ขมิ้นชันที่ดีต้องมีปริมาณเคอร์คูมินอยด์
คำนวณเป็นเคอร์คูมิน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก และน้ำมันหอมระเหยไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก ตามมาตรฐานของตำรับยาสมุนไพรไทย หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 และร้อยละ 4 ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก

การใช้ประโยชน์ ภูมิปัญญาไทยใช้ขมิ้นชันในการรักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ การบำรุงผิวพรรณ และใช้ในการปรุงแต่งกลิ่นและรสอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากขมิ้นชัน ได้แก่ ยา เช่น ลดกรด รักษาแผล ลดอาการอักเสบ, อาหารเสริมสุขภาพ, เครื่องสำอาง เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่, ผลิตภัณฑ์สปา Aroma Therapy และลูกประคบ, ยาทำกันยุง, ส่วนผสมในอาหารสัตว์, ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช



ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/11/07 13:32:53
อ่าน: 278, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสมุนไพร , ตรวจสารเคมีตกค้างในสมุนไพร , ตรวจสินค้าแปรรูปจากสมุนไพร



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 544 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 801 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 927 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 777 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022