ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

อาชีพเกษตรกรปลูก ผักบุ้งจีน ส่งออกยุโรป สร้างรายได้เดือนละหมื่นกว่าบาท

อาชีพเกษตรกรปลูก ผักบุ้งจีน ส่งออกยุโรป สร้างรายได้เดือนละหมื่นกว่าบาท
ผักบุ้งจีน เป็นพืชผักที่พบได้ทั่วไปในเขตร้อน เป็นผักที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาประกอบอาหารกันหลากหลายเมนู อาทิ ผัดผักบุ้งไฟแดง เป็นผักทานกับก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ด้วยลักษณะของผักบุ้งจีนมีใบสีเขียว ก้านใบมีสีเหลืองหรือขาว ก้านดอกและดอกมีสีขาว ซึ่งทำให้ผักบุ้งจีนจะนิยมนำมาประกอบอาหารมากกว่าผักบุ้งไทย จึงมีการปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ทั้งเป็นการปลูกเพื่อนำลำต้นไปขาย หรือบริษัทปลูกเพื่อพัฒนาและขายเมล็ดพันธุ์ โดยตลาดที่สำคัญในการส่งออกผักบุ้งจีน คือ ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ ทำให้เป็นที่ต้องการกันอย่างต่อเนื่อง

แม้ผักบุ้งจีนจะได้รับความนิยมมากของผู้บริโภคในประเทศไทย แต่ด้วยภาวการณ์ขึ้นลงของราคาที่ไม่คงที่ของตลาด ที่แปรผันหมุนเปลี่ยนไปตลอดเวลา และยังต้องส่งผ่านผลผลิตให้พ่อค้าคนกลาง จึงเกิดการกดราคาที่ทำให้รายจ่ายของต้นทุนไม่พอกับรายรับที่ได้มา จึงทำให้เกษตรกรผู้ผลิตรายหลัก ต้องคิดหาวิธีการในการดำเนินการส่งออกผลผลิตนอกประเทศ เพื่อเป็นการเสริมสร้างรายได้ให้มั่นคง และอยู่รอดต่อไป

คุณลาวัลย์ แสงนัย บ้านเลขที่ 10/1 หมู่ 3 บ้านหมอนหนึ่ง ตำบลคลองพระยาบันลือ อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13230 (โทร.08-9496-8675) ได้เล่าให้ฟัง จากเคยเป็นสาวพนักงานออฟฟิต ซึ่งได้ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยวิศวกร จากที่เคยใช้ชีวิต และทำงานในเมืองใหญ่ มีรายได้ตกเดือนละ 25,000 บาท นั้น แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาตกงานเมื่อบริษัทปิดตัวลง เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์น้ำท่วมแถวบริษัทที่ทำงานอยู่ จึงทำให้เครียดมาก เลยได้ย้ายกลับมาอยู่บ้านแถวพระนครศรีอยุธยา และเริ่มมองหาอาชีพใหม่ของตัวเอง ด้วยคนแถวบ้านเขาก็มีอาชีพปลูกผักขายกัน จึงเริ่มต้นด้วยการลองปลูกผักขายเพื่อเป็นรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัว

เมื่อเริ่มมองหาอาชีพใหม่ได้แล้ว ก็ลงมือปลูกผักขายส่งให้ตลาดจนค่อยๆ มีเงินสะสมได้สิบบาทบ้าง ยี่สิบบาทบ้าง ซึ่งไม่ได้เงินเป็นก้อนเหมือนงานประจำที่เคยทำ เราก็มีรายได้เข้ามาทุกวัน แต่ถึงยังอย่างนั้นเราก็ยังพบกับปัญหาที่โดนกดดันเรื่องของราคา เพราะเราส่งให้กับตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และก็เคยวิ่งส่งตลาดด้วยตัวเอง จึงทำให้ได้รู้ว่าตลาดพืชผักของไทยมันไม่ค่อยนิ่ง และเริ่มหันไปมองคนอื่น ประกอบกับศึกษาจากหลายที่ จนไปเจอกลุ่มส่งออกผลผลิตจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งก็ได้ติดต่อปรึกษากับทางกลุ่มส่งออก จึงได้ข้อคิด และเกิดจับกลุ่มเกษตรกรกันได้ประมาณ 12 คน จนได้ตลาดส่งออกไปทางโซนยุโรป นอกจากนี้ก็จะมีอีกหนึ่งกลุ่มคือ กลุ่มเครือข่ายของทางนนทบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของการส่งออกโดนทางเราจะเป็นฝ่ายผลิต และให้ทางฝ่ายนนทบุรีเป็นฝ่ายการตลาดในการจัดหาออเดอร์ให้เราสามารถส่งออกผลผลิตได้ ซึ่งในแต่ละเดือนเราจะมีการวางแผนกันล่วงหน้า เพื่อตอบโจทย์ให้ได้ตามความต้องการของตลาด

สำหรับวิธีการปลูกผักบุ้งของคุณลาวัลย์ นั้นจะเริ่มจากการปรับสภาพหน้าดินก่อน เนื่องจากสมัยก่อนดินที่ปลูกอยู่นั้นเป็นดินที่ไม่ค่อยดี ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น จึงได้ศึกษาค้นคว้า และเริ่มเรียนกับอาจารย์ยักษ์ หรือ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร โดยได้ไปอบรมระยะเวลา 5 วัน 4 คืน ที่มาบเอื้อง ซึ่งจะมีวิธีการสอนคือ การห่มดิน การนำฟางข้าวมาปรับอุณหภูมิในดิน สร้างหิมะในดินด้วยปุ๋ยหมัก และก็อินทรียวัตถุ คือการสร้างโครงสร้างในดินให้มันดีขึ้น

นำปุ๋ยหมักผสมคลุกเคล้าลงไปในดิน และเสร็จแล้วทำดินให้ละเอียด ร่วยซุย จากนั้นก็นำเมล็ดผักบุ้งจีนมาแช่ไว้ 1 คืน เพื่อให้แตกตุ่มตาขาวๆ หรือถ้าต้องการให้งอกเร็วให้ต้มน้ำให้เดือดนำไปผสมกับน้ำให้อุณหภูมิอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส นำเมล็ดแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน แล้วก็ค่อยนำมาหว่านลงในดินที่ทำการเตรียมไว้เพื่อปลูก และใช้ปุ๋ยหมักกลบไปอีก 1 รอบ เสร็จแล้วนำฟางไม่ให้หนามากนักมาคลุมปิดด้านบนเพื่อช่วยเก็บความชื้น

สำหรับการดูแลรักษา ต้องดูแลรดน้ำพรวนดินปกติ แล้วหลังจากนั้นประมาณสัก 7 วัน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อีกหนึ่งรอบ ดูแลรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็น และก็เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดเรื่อยๆ จนไปถึงระยะถัดไป 12 วัน การที่ต้องเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์นั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างธาตุอาหารที่ปุ๋ยหมักไม่มีในบางตัว และป้องกันจากโรคแมลง เชื้อรา ที่จะตามมาในพืชโดยสามารถหาซื้อชีวพันธุ์ได้ตามท้องตลาด แต่จะมีบางส่วนที่ทำเองอย่างเช่น ไตรโคเดอร์ม่า เป็นยาป้องกันเชื้อรา ที่ทางสวพ.ชัยนาท ได้ให้เรานำความรู้มาปรับใช้เอง เช่น การเขี่ยเชื้อ เป็นต้น

พี่ลาวัลย์ยังบอกอีกว่า ในส่วนของน้ำหมัก พี่ลาวัลย์ก็จะหาวัสดุจากในท้องถิ่นที่มีอยู่ นำมาปรับประยุกต์ใช้ อย่างเช่น สะเดา สาบเสื้อ ไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นแมลง ผกากรอง แสยก ที่สามารถหาได้เองตามธรรมชาติ ไม่มีค่าใช้จ่ายสูง ไม่ต้องสิ้นเปลืองไปกับยาฆ่าแมลงที่จะส่งผลเป็นอันตรายต่อทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภคอีกด้วย

การเก็บเกี่ยวสามารถเก็บเกี่ยวจำหน่ายได้ในฤดูฝน และฤดูร้อนตั้งแต่อายุ 18 – 25 วัน หรือผักบุ้งมีขนาดลำต้น 3 หุน ยาว 30 เซนติเมตร ส่วนในช่วงฤดูหนาว จะเก็บเกี่ยวที่อายุ 24 - 25 วัน ซึ่งเป็นฤดูกาลที่พืชผักเติบโตช้า โดยใช้วิธีการถอนผักบุ้งให้ได้กำละ 1 กิโลกรัม นำมาล้างให้สะอาด และคัดแยกใบเสียทิ้ง บรรจุลงในถุง 5 กิโลกรัม แล้วนำส่งตลาด ซึ่งจะมีพ่อค้าในพื้นที่มารับไปจำหน่ายต่อไป

ทุกวันนี้เราจะคัดแบ่งเกรดผักบุ้งจีน ในเกรดต่างๆ ซึ่งเกรดดีหน่อยเราก็จะคัดส่งตามออเดอร์ของบริษัทที่สั่งผักเรามา โดยเริ่มตั้งแต่ราคา 15 บาท จนถึงราคา 26 บาท ต้นทุนในการปลูกของเราก็ไม่ได้มีค่าอะไรมากมาย เพราะทุกอย่างเราทำเองเกือบทั้งหมด เป็นวิธีทางธรรมชาติ ส่วนใหญ่ต้นทุนของเราจะอยู่ที่เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน ที่ลงทุนแค่ 1,200 บาทต่อเดือนเท่านั้น และมีค่าฟางข้าวที่ตกอยู่ราคาฟ่อนละ 25 บาท ในหนึ่งแปลงไม่ถึงฟ่อน ซึ่งในหลักการคิดของเราคือ แนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระองค์ท่านสอนให้เราคิดแบบพอดีๆ ไม่มากไป ไม่น้อยไป ใช้การศึกษาค้นคว้าความรู้จากเทคโนโลยี อย่างเช่น Youtube Google ที่มีหลายกลุ่มคนเผยแพร่ความรู้ให้ได้ศึกษา

ส่วนรายได้จากการขายของพี่ลาวัลย์ ส่วนใหญ่ก็จะรับออเดอร์มาจากบริษัท โดยมีการคัดเกรดของผักในการส่งออก โดยจัดส่งให้ตามออเดอร์ทั้งหมด 6 วัน มีวันหยุด 1 วัน แต่ในวันหยุดก็มีการวางแผนในการทำต่อไป และหยุดพักผ่อนบ้างแบบสบายๆ ส่วนผักบุ้งจีนที่เกรดรองลงมา ก็จะนำมาแพคถุงขายเองในหมู่บ้าน ซึ่งได้อภินันทนาการถุงแพคผักแบบปลอดภัยจากเกษตรของจังหวัด ซึ่งวันหนึ่งวิ่งขายในชุมชนก็ได้ประมาณ 200 กว่าบาท รวมกับรายได้ที่แพคขายส่งออกด้วยก็ประมาณเดือนละ 24,000 บาทต่อ ผักบุ้งจีน 12 โล ซึ่งถือเป็นรายได้ไม่น้อยกว่าเราทำงานเป็นพนักงานบริษัทแน่นอน แถมเราสามารถเก็บเล็กผสมน้อย เดือนๆ มีอิสระในการทำ เป็นเจ้านายของตัวเอง และก็มีความสุขกับสิ่งที่ทำ ได้อยู่กับครอบครัว อยู่ดูแลพ่อแม่เราอีกด้วย

พี่ลาวัลย์ยังกล่าวทิ้งท้ายอีกว่า...เกษตรกรรุ่นใหม่ ทำไมเราจะต้องหมดหนทาง แล้วค่อยกลับมาทำเกษตร ถ้ามองในมุมใหม่จะพบว่าการทำเกษตรถือเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีรายได้ดีมาก เพียงแต่เราต้องมอง และลองศึกษาการทำให้ดีๆ และอาชีพแบบการเกษตรจะคงอยู่ยั่งยืน ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงตรัสไว้ อีกทั้งการปลูกผักกินเองทุก ค่าใช้จ่ายจะไม่มี ไม่ฟุ้งเฟ้อเมืองสังคมเมืองที่จะมีค่าใช้จ่ายทั้ง ค่าเสื้อผ้า ค่ารถ ค่าหอพัก แต่อาชีพเกษตรกร เสื้อผ้าไม่จำเป็นต้องหรูหรามาก ชุมชนของเรามีวัฒนธรรมแบบนี้ อยู่แบบง่ายๆ กินแบบง่ายๆ


ข้อมุลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/13 14:41:54
อ่าน: 244, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุรภาพมาตรบานผักบุ้ง , ตรวจสารเคมีตกค้างในผักบุ้ง , ตรวจสินค้าเกาตรเพื่อส่งออก



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 634 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 659 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 897 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 895 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1082 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 880 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 896 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 880 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 941 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 878 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022