ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

หมูกระทะ กินสะสมมาก เสี่ยง มะเร็ง !!!

เย็นนี้ หมูกระทะกัน เพื่อนๆ จะสังสรรค์กันทีไร ต้องหมูกระทะเท่านั้น เพราะนอกจากจะกินได้ไม่อั้น อิ่มยันพรุ่งนี้เช้าแล้ว ยังราคาย่อมเยา คิดราคาแล้วต้องรอง โอ้โห คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เลยทำให้หลายคนน้ำหนักขึ้นจากเมนูนี้ได้ไม่ยาก

แต่อันตรายไม่ได้มาแค่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น แต่หากไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจจนทานมากเกินไป จะส่งผลเสียให้กับร่างกายมากกว่าโรคที่ใครหลายคนทราบดีอย่าง มะเร็ง อีกด้วย

อันตรายจากหมูกระทะที่ไมได้มาตรฐาน

1. เนื้อหมู
ใครที่ชอบทานหมู จะเห็นได้ว่าหมูในร้านหมูกระทะหมักมาเรียบร้อยแล้ว แต่หมูเหล่านี้หากรับซื้อมาจากผู้ผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน แล้วยังปิ้งย่างไม่สุก 100% ทานเข้าไปอาจมีความเสี่ยงรับเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ โดยจะมีอาการคือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ อาเจียน หูหนวก ชัก หรืออาจเป็นอัมพาต บางรายอาจปอดอักเสบ สายตาพร่ามัว และหูหนวกได้ นอกจากนี้ยังมีเชื้อโรคอื่นๆ อีกเพียบ หากทานโดยใช้ความร้อนที่ไม่มากเพียงพอที่จะฆ่าเชื้อโรคเหล่านั้นได้

2. ผ้าขี้ริ้ว
หลายคนชอบส่วนของ ผ้าขี้ริ้ว มาก ยิ่งสีขาวๆ ยิ่งน่ากิน แต่อันที่จริงแล้วผ้าขี้ริ้วมีสีค่อนข้างดำเข้ม (จึงมีชื่อว่าผ้าขี้ริ้ว) แต่กว่าจะเป็นสีขาวหน้าตาน่ารับประทาน ก็ต้องผ่านการฟอกมาก่อน ซึ่งเจ้าสารฟอกขาวนี่แหละค่ะที่อาจตกค้างจนทำให้ผู้ที่ทานเข้าไปมีอาการหายใจติดขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วง ยิ่งคนที่มีอาการแพ้ต่อสารฟอกขาวด้วย หรือผู้ป่วยที่มีโรคหอบหืดเป็นโรคประจำตัวด้วยแล้ว จะยิ่งมีอาการที่แย่ลง อาจจะช็อค หมดสติ หรือถึงขั้นเสียชีวิต (หากทานเข้าไปมากๆ) ได้เลยทีเดียว

3. อาหารทะเล
อย่างที่หลายคนเคยทราบกันว่าหากเป็นแหล่งจำหน่ายอาหารทะเลที่ไม่ได้คุณภาพ อาจมีการรักษาความสดของอาหารทะเลด้วยการใช้ฟอร์มาลีน หากเราทานอาหารทะเลที่มีฟอร์มาลีนเป็นสารตกค้างมากๆ อาจส่งผลต่อการทำงานของไต หัวใจ หรืออาจเป็นสาเหตุของอาการสมองเสื่อมได้เลยทีเดียว นอกจากนี้หากเรามีอาการแพ้สารดังกล่าว อาจทำให้เรามีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน

4. อาหารแปรรูป
หลายคนชอบทานไส้กรอก ลูกชิ้นต่างๆ ซึ่งอาจมีสารบอแรกซ์เป็นส่วนผสม เพื่อทำให้อาหารเหล่านั้นกรอบอร่อย หากเรารับสารเหล่านี้เข้าไปมากๆ อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต จนอาจทำให้ไตวาย หรือกระทบกับการทำงานของสมองได้

กรมอนามัยระบุว่า การรับประทานอาหารปิ้งย่างหรือรมควันเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการได้รับสารอันตราย 3 ชนิด

1. สารไนโตรซามีน (Nitrosamines)
สารไนโตรซามีน สามารถพบในปลาหมึกย่าง ปลาทะเลย่าง และในเนื้อสัตว์ที่ใส่สารไนเตรท ประเภทแหนม ไส้กรอก เบคอน แฮม ที่มีสีแดงผิดปกติ ทำให้เสี่ยงเป็นสารก่อมะเร็ง ทั้งมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร

2. สารไพโรไลเซต (Pyrolysates)
สารนี้พบมากในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหาร ปิ้ง ย่าง สารกลุ่มนี้บางชนิดมีฤทธิ์ร้ายแรงทางพันธุกรรมมากกว่าสารอะฟลาทอกซินตั้งแต่ 6-100 เท่า

3. สารพีเอเอช หรือสารกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon)
สารนี้เป็นชนิดเดียวกับที่เกิดในควันไฟ ไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ และเตาเผาเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม โดยสารนี้จะพบในบริเวณที่ไหม้เกรียมของอาหารที่ปรุงด้วยการปิ้ง ย่าง หรือรมควัน ของเนื้อสัตว์ที่มีไขมันหรือมันเปลวติดอยู่ด้วย เช่น หมูย่างติดมัน ไก่ย่างติดมัน หากรับประทานเข้าไปเป็นประจำจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ ซึ่งจากสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในปี 2553 มีผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย23,410 ราย และเสียชีวิต 20,334 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 55 คนต่อวัน หรือ 2 คนต่อชั่วโมง

ทานหมูกระทะอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

รับประทานหมูกระทะแบบปิ้ง ย่าง ตามปกติการหั่นเนื้อมักไม่เท่ากัน บางชิ้นเนื้อหนา บางชิ้นเนื้อบาง การดูเพียงขอบนอกของเนื้อไหม้เกรียมอาจจะไม่ได้หมายความว่าเนื้อดังกล่าวสุก ควรใช้ช้อนหั่นเนื้อตรงกลางออก เพื่อตรวจสอบเนื้อสุกแล้วหรือไม่

ควรมีการแยกตะเกียบหยิบชิ้นเนื้อปิ้งย่าง ออกจากตะเกียบรับประทาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อน

ควรรับประทานอย่างช้าๆ เพื่อสังเกตว่าอาหารสุกหรือไม่ แต่ส่วนใหญ่หมูกระทะมักรับประทานในรูปแบบของบุฟเฟ่ต์ ทำให้คนรีบร้อนในการรับประทาน

ในกรณีที่ทำทานเองที่บ้าน ควรมีการทำความสะอาดตะแกรงปิ้งย่างด้วยการแช่น้ำ หรือแช่น้ำยาชะล้าง ล้างและขัดให้สะอาด และนำมาผึ่งแดดอย่างน้อย 4 - 8 ชั่วโมง ก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

ถึงกระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าหมูกระทะทุกร้านจะอันตราย ห้ามทานกันไปหมดนะคะ เพียงแต่ก่อนทานควรเลือกร้านที่คุณภาพของอาหารดี สะอาด ถูกหลักอนามัย ราคาไม่ถูกมากจนน่ากลัว และที่สำคัญคือควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่เห็นแก่เงินจนทานเอาให้คุ้ม ไม่ทานบ่อยจนเกินไป เลือกทานทั้งเนื้อและผัก ทานให้หลากหลาย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยค่ะ


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/07 14:58:16
อ่าน: 219, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสารไนโตรซามีน , ตรวจสารไพโรไลเซต , ตรวจพีเอเอช




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 646 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 674 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 908 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 947 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1093 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 894 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 908 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 894 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 956 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 892 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022