ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

อันตราย จาก สารเร่งเนื้อแดง!!!

จำได้ว่าเคยหยิบยกเรื่องของการลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดงในบ้านเรามาพูดถึงอยู่หลายครั้ง
ขณะนี้มีประเด็นที่ไม่พูดคงไม่ได้ นั่นคือ เรื่องผลการประชุมประจำปี 2555 ของคณะกรรมการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือ CAC ของโคเด็กซ์ (Codex) ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 2-7 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้มีการกำหนดค่าสูงสุดที่อนุญาตให้มีได้ (MRLs) ของสารเร่งเนื้อแดง Ractopamine

เท่ากับเป็นการอนุญาตให้มีการใช้สารนี้กับสัตว์เลี้ยงได้ จึงเป็นข้อกังขาอยู่ในใจว่า.... อะไรที่ทำให้ที่ประชุม CAC ยอมให้มีการใช้สารนี้ได้ ทั้งที่เรื่องนี้เป็นประเด็นคงค้างในการพิจารณาและมีกระแสคัดค้านตลอดระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 16 ปีที่ผ่านมา จึงต้องหันกลับมาย้ำให้ประเทศไทยของเรายึดมั่นในจุดยืนเรื่องการป้องปรามให้ไทยปลอดจากสารเร่งเนื้อแดงอย่างที่ทำมาร่วม 10 ปี

สาร Ractopamine มหันตภัยใกล้ตัว
แร็กโตพามีน (Ractopamine) เป็นหนึ่งในสารเร่งเนื้อแดงกลุ่มเบต้า-อะโกนิสต์ (B-Agonist) ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหาร เพิ่มน้ำหนักตัวของสัตว์ และเพิ่มปริมาณเนื้อแดง จริงอยู่ที่การใช้สารนี้ส่งผลให้สัตว์มีชั้นไขมันลดลง และเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อ แต่หากได้รับสารดังกล่าวในปริมาณมากจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของหลอดลม หลอดเลือด ซึ่งไม่เพียงมีผลต่อตัวสัตว์ ให้มีอาการตื่นตกใจง่าย กล้ามเนื้อขาสั่น ยังอาจช็อกถึงตายได้ง่ายๆ หากตื่นเต้นมากๆ

ที่สำคัญสารเร่งเนื้อแดงที่ตกค้างในเนื้อสัตว์ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง ทำให้กล้ามเนื้อสั่น-กระตุก มีอาการมือสั่น กระตุ้นการเต้นของหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ กระวนกระวาย วิงเวียน และปวดศีรษะ จึงเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคลมชัก และโรคเบาหวาน

ทั้งนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 269) พ.ศ.2546 กำหนดให้อาหารทุกชนิดต้องตรวจไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ และเกลือของสารกลุ่มนี้ รวมถึงสารในกระบวนการสร้างและสลายของสารดังกล่าว อย่างเช่น เนื้อสุกรต้องตรวจไม่พบสารเคมีกลุ่มเบต้า-อะโกนิสต์ทุกชนิด

การลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดง
แม้ว่าสารเร่งเนื้อแดงกลุ่มเบต้า-อะโกนิสต์ จะเป็นสารเคมีภัณฑ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตและนำเข้าซึ่งอาหารสัตว์ ตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์มาตั้งแต่ พ.ศ.2525 และพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคหากได้รับสารนี้ที่ตกค้างอยู่ในเนื้อสัตว์ หากแต่ยังพบว่า มีการลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดงนี้ในสุกร วัว และสัตว์ปีก

อย่างไรก็ตาม การลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดงเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะในสุกร เนื่องจากสารนี้ทำให้สุกรมีเนื้อแดงมากขึ้น ทำให้ขายได้ราคาดีกว่าเนื้อสุกรที่มีมันมาก จึงเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลักลอบใช้นั่นเอง

มูลเหตุจูงใจใช้สารเร่งเนื้อแดง
ความนิยมและความห่วงใยในสุขภาพ ทำให้ผู้บริโภคในปัจจุบันหันมารับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน มีสีแดงสวยน่ารับประทาน ด้วยเข้าใจว่าปราศจากไขมันหรือมีคอเลสเตอรอลน้อย ทำให้เสี่ยงกับการรับประทานเนื้อสุกรที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้าง เนื่องจากเนื้อสุกรดังกล่าวจะมีปริมาณของไขมันต่ำกว่าปกติหรือแทบไม่มีให้เห็น

ขณะที่สุกรที่เลี้ยงตามปกติจะมีชั้นไขมันปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะถ้าเป็นเนื้อสุกรสามชั้น จะมีสัดส่วนไขมันอยู่ที่ร้อยละ 60 ต่อเนื้อแดงร้อยละ 40 ส่วนสุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงจะมีสัดส่วนของไขมันในอัตราส่วนตรงกันข้าม เนื้อสุกรที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างจึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งเกษตรกรยังถูกบีบคั้นจากพ่อค้าคนกลาง หรือบรรดาเขียงสุกรให้นำสารเร่งเนื้อแดงมาใช้ เพื่อให้เนื้อสุกรมีสีสันแดงสด ไขมันน้อย สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่แพงขึ้น

ด้านเกษตรกรเอง การใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงสุกรก็ช่วยให้สามารถลดต้นทุนได้มาก เนื่องจากสุกรที่ไม่ใช้สารที่จะเจริญเติบโตตามปกติ ปริมาณกล้ามเนื้อต่ำกว่าและชั้นไขมันใต้ผิวหนังหนากว่า เมื่อเปรียบเทียบกับสุกรที่กินอาหารที่มีสารเร่งเนื้อแดงจะเจริญเติบโตเร็ว รูปร่างกำยำล่ำสัน มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ และที่แน่นอนคือขายได้ราคาดีกว่า

เมื่อความต้องการในการบริโภค และปัจจัยการผลิตสอดคล้องกัน การลักลอบนำสารเร่งเนื้อแดงมาใช้ในการเลี้ยงสุกร จึงมีให้พบเห็นอยู่ตลอด แม้ว่าจะมีกฎหมายห้ามใช้และห้ามนำเข้าสารเคมี และอาหารที่มีส่วนผสมของสารเคมีกลุ่มเบต้า-อะโกนิสต์ รวมถึงกฎหมายห้ามใช้สารดังกล่าวในการเลี้ยงสัตว์โดยเด็ดขาดเป็นตัวควบคุมอย่างเคร่งครัดแล้วก็ตาม

เตือนไทยอย่าก้าวถอยหลัง
ประเทศไทยได้ประกาศจุดยืนเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร หรือ Food Safety โดยกำหนดเป็นนโยบายมาตั้งแต่ปี 2547 ทำให้ส่วนของการผลิตสัตว์ โดยเฉพาะในธุรกิจสุกรต้องพัฒนาไปสู่การผลิตเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ตั้งแต่การเลี้ยงภายในฟาร์ม การฆ่าชำแหละ จนถึงการแปรสภาพและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ มีการผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล เพื่อเป็นการปกป้องและคุ้มครอง ผู้บริโภค

ซึ่งหมายรวมถึงการเข้มงวดในการลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดงด้วย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อย่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รวมทั้งกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีมาตรการเข้าควบคุมตรวจสอบสุกรทั้งในส่วนของฟาร์มเลี้ยงและโรงฆ่าสัตว์ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบเนื้อสุกรที่วางจำหน่าย และให้ความรู้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงการให้สัตยาบันของเกษตรกรที่จะไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยง
หากในไทยยินยอมให้มีการใช้สารเร่งเนื้อแดง Ractopamine ได้อย่างอิสระแล้ว ความพยายามในการรณรงค์มาอย่างช้านาน ในห้วงช่วงเวลาร่วม 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อทำให้อุตสาหกรรมการเลี้ยง สุกรของไทยปลอดสารเร่งเนื้อแดง ก็เท่ากับ ต้องเสียเวลาเปล่า แล้วการคุ้มครองผู้บริโภคที่ทุกหน่วยงานเฝ้าเพียรพยายามทำมาก็เปล่าประโยชน์ และไม่ต่างอะไรกับการก้าวถอยหลัง

ค้านใช้สาร Ractopamine หวั่นตกค้างสู่ผู้บริโภค
ข้อกังวลหนึ่งหากไทยมีการอนุญาตใช้สารเร่งดังกล่าวได้จริง ประการแรกคือ การที่เกษตรกรนำสารเร่งเนื้อแดงไปใช้อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การนำไปใช้ไม่ถูกวิธี หรือใช้มากเกินไป รวมถึงการใช้โดยไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบต่างๆ อย่างถี่ถ้วนแล้ว สิ่งที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การตกค้างของสารดังกล่าวในเนื้อสัตว์สู่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งดังกล่าวข้างต้น

ประการต่อมา หากมีการนำสารเร่งเนื้อแดงไปใช้ผสมในอาหารสัตว์ สำหรับโรงผลิตอาหารสัตว์ขนาดเล็ก ที่การผลิตอาหารสุกรและอาหารไก่ จำเป็นต้องใช้ไลน์การผลิตเดียวกัน ซึ่งหากไม่มีการควบคุมการล้างไลน์ผลิตที่เข้มงวด อาจเกิดการปนเปื้อนของสารดังกล่าวในอาหารไก่ด้วย

ผลที่ตามมาคือ มีการตกค้างของสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อไก่ ที่หากตรวจพบการตกค้างดังกล่าวแล้ว อาจกระทบถึงความเชื่อมั่นจากประเทศผู้นำเข้าเนื้อไก่รายใหญ่อย่างสหภาพยุโรป หรือ EU ที่มีกฎหมายห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงอย่างเด็ดขาด และเข้มงวดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก เท่ากับว่าผลที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นลูกโซ่ไปถึงอุตสหกรรมไก่เนื้อทั้งประเทศ ด้วย

การที่ Codex อนุญาตให้ใช้สารเร่งเนื้อแดง Ractopamine ในการเลี้ยงสัตว์นี้ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องไตร่ตรองให้มากถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมา ทั้งในแง่อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ของประเทศ และความปลอดภัยในอาหารของผู้บริโภค ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลภายใต้แกนนำของนายกฯยิ่งลักษณ์เองก็พยายามผลักดัน เพื่อเป็นอีกแรงหนุนครัวไทยสู่ครัวโลก...อย่าให้สารเร่งเนื้อแดงกลายเป็นสิ่งที่ขัดขวางเป้าหมายที่ว่านี้เลย!


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/05 15:45:20
อ่าน: 254, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสาร เร่งเนื้อแดง , ตรวจสารแร็กโตพามีน , ตรวจสารเคมีกลุ่มเบต้า-อะโกนิสต์ทุกชนิด



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 617 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 642 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 879 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 878 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1009 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 862 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 879 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 863 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 923 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 861 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022