ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

การตรวจวัดน้ำ ในการผลิตเบียร์

การผลิตเบียร์

ในการทำเบียร์นั้นวัตถุดิบที่สำคัญ

1. ข้าวมอลต์ (malt)ได้มาจากข้าวบาร์เลย์ ซึ่งเป็นธัญพืช ที่นิยมปลูกในประเทศ ที่มีภูมิอากาศเย็น จะมีการปลูกกันมาก ในประเทศทางทวีปยุโรป เช่น เยอรมนี ออสเตรีย อังกฤษ เดนมาร์ก และ ออสเตรเลีย ส่วนประเทศไทยมีการนำ สายพันธุ์ ข้าวบาร์เลย์เข้ามาปลูกในแถบ ภาคเหนือ ซึ่งมีภูมิอากาศเย็น

2. น้ำ เป็นวัตถุดิบที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง เนื่องจากเบียร์มีส่วนประกอบที่เป็น น้ำมากกว่า 90% คุณภาพของน้ำ ที่ใช้สำหรับการ ผลิตเบียร์ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของเบียร์ที่จะผลิต ความอ่อน ความกระด้างของน้ำจะมีผลต่อ รสชาติของเบียร์ หรือมีผลต่อความ เปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในกระบวน การผลิต ซึ่งน้ำที่ใช้ส่วนใหญ่ในโรงงานจะเป็นน้ำบาดาลที่ขุดขึ้นมาใช้และผ่านการบำบัดโดยการกรอง และผ่านขบวนการทำ reverse osmosis แล้ว

3. ฮ็อป (hop) เป็นพืชเถาที่ต้องปลูกในพื้นที่ที่เย็นตลอดทั้งปี ดังนั้นจึงไม่สามารถปลูกได้ในประเทศ hop มีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ aroma hop และ bitter hop เพราะฉะนั้น hop ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตจะนำเข้ามาจากต่างประเทศ 100%

4. เชื้อ yeast จะใช้เชื้อ yeast ที่เฉพาะในการผลิตเบียร์แต่ละประเภท ซึ่ง yeast ที่ใช้ในการผลิตจะมี 2 แบบ คือ bottom yeast และ top yeast สำหรับ yeast ที่ใช้ในบุญรอด ฯ จะเป็น yeast ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และมาขยายเองที่ประเทศไทย

การผสม

การผลิตเบียร์เริ่มจากการนำข้าวมอลต์ มาบดให้เมล็ดแตก พร้อมทั้งใส่น้ำผสม ลงไปในถังผสม ถังผสมต่างๆ ที่ใช้ ในการผลิตเบียร์ในสมัยก่อนนั้น นิยม ทำด้วยทองแดง ตัวทองแดงนอกจากจะมี ความสวยงามแล้ว ยังเป็นตัวนำความร้อน ที่ดี ทำให้ความร้อนสามารถผ่านไปที ของผสมในถังผสมได้เร็วขึ้นเมื่อผสมข้าวและน้ำลงไปในถังผสมแล้ว จึงทำให้ความร้อนที่เหมาะสม เพื่อให้ เอนไซม์ที่มีอยู่ในข้าวมอลต์ เปลี่ยนแป้ง ไปเป็นน้ำตาลมอลโตส (Maltose) หลังจากนั้นจึงแยก เอาของเหลวออกจาก กากข้าว ของเหลวดังกล่าวเรียกว่า เวิร์ท (Wort) ซึ่งจะมีความหวานของน้ำตาลมอลโตสอยู่ (ให้ได้ความหวานประมาณ 12 brix) จากนั้นจึง ต้มเวิร์ทให้เดือด พร้อมทั้งใส่ดอกฮ็อพ เมื่อต้ม เวิร์ทจน ได้ที่แล้ว จะปล่อยให้ตกตะกอนก่อน หลังจากนั้นจึง ทำให้เย็นลงพร้อมทั้ง ใส่ยีสต์และเติมอากาศเพื่อการเจริญของยีสต์ แล้วนำไปหมักในถังหมัก

การหมัก

อุณหภูมิของการหมักขึ้นอยู่กับ ชนิดของเบียร์ และชนิดของ ยีสต์ที่ใช้ การหมักจะใช้เวลา ประมาณ 5 วัน สำหรับท็อปยีสต์ ส่วนบ็อททอมยีสต์ใช้เวลา 7-10 วัน หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการ หมักแล้วจึงแยกยีสต์ออก เบียร์ที่ได้ ในช่วงนี้เรียกว่า กรีนเบียร์ (Green beer) หรือ ยังเบียร์ (Young beer) ซึ่งจะต้อง นำไปเก็บบ่มต่อไปอีกระยะหนึ่งประมาณ 1 อาทิทย์ โดยการควบคุมความเย็น (จะใช้น้ำยาแอมโมเนีย) และ แรงดันภาย ในถังบ่มเพื่อให้เบียร์ใส ขึ้นและมีรสชาติที่กลมกล่อม หลังจากนั้นนำไปกรอง เพื่อแยก เอาตะกอนแขวนลอย และยีสต์ ที่ตกค้างออก จึงจะได้เบียร์ที่ใส พร้อมดื่ม

แผนภาพกระบวนการผลิต

การบรรจุและการจัดจำหน่าย

แสงสว่างซึ่งมีอัลตราไวโอเลต (UV) สามารถทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับเบียร์ได้ มีผลทำให้สีของเบียร์เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการบรรจุเบียร์ลงในภาชนะที่เป็นขวด จึงนิยมใช้ขวดที่มีสี เช่น สีน้ำตาล หรือสีเขียว ซึ่งจะช่วยป้องกันแสงอัลตราไวโอเลต ผ่านได้ เบียร์จะได้รับการบรรจุขวด ผนึกฝา และ ติดฉลากด้วยเครื่องจักรโดย อัตโนมัติ โดยมีผู้คอยตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิต และมีการทดสอบในห้องทดลองของโรงเบียร์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้แน่ใจว่าเบียร์ทุกขวดได้รับการบรรจุอย่างเรียบร้อย ปราศจาก สิ่งปนเปื้อนและพร้อมที่จะจัดจำหน่ายเบียร์จะถูกจัดส่งผ่านเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายของบุญรอด ไปยังภัตตาคาร บาร์ และร้านค้า ทั่วประเทศเพื่อให้ผู้บริโภคได้ดื่มกันอย่างทั่วถึง

สำหรับขวดที่นำมาใช้ในการบรรจุนั้นจะเป็นขวดที่ผ่านการใช้งานแล้วดังนั้นก่อนจะนำมาใช้ใหม่ทุกครั้งจึงจำเป็นต้องมีการล้างทำความสะอาดก่อน โดยวิธีการล้างขวดนั้นจะล้างโดยใช้โซดาไฟ และใส่ starbilon ซึ่งเป็นสารช่วยทำให้โซดาไฟทำงานได้ดีขึ้น และล้างขวดโดยใช้น้ำร้อน อบด้วยความร้องสูง และเป่าแห้งด้วยลมร้อน

การบำบัดน้ำทิ้ง

บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม ต่างๆ เสมอมา และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย ของรัฐบาลในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของประเทศ จึงได้ทำการปรับปรุงระบบบำบัด น้ำทิ้ง ของโรงเบียร์ เพื่อป้องกันปัญหามลภาวะที่จะเกิด กับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะมีผลกระทบต่อชุมชน

1. น้ำทิ้งจากโรงเบียร์จะถูกส่งเข้าไปยัง Equalization Tank ซึ่งจะกวนน้ำอยู่ตลอดเวลาเพื่อป้องกัน การตกตะกอน

2. น้ำทิ้งจะถูกส่งไปยังถังหมักแอนแอโรบิค ซึ่งเรียกว่า ถังปฏิกิริยา UASB เพื่อให้แบคทีเรียแบบไม่ใช้ ออกซิเจนย่อยสลาย สารอินทรีย์แล้วเปลี่ยนให้เป็น "ก๊าซชีวภาพ"

3. น้ำทิ้งจะถูกส่งไปบำบัดต่อยัง ถังเติมอากาศ (Aeration Tank) ซึ่งออกซิเจนจะกระตุ้นการเจริญ เติบโตของแบคทีเรียที่อาศัยอากาศในการเจริญเติบโต เพื่อให้แบคทีเรียย่อยสลายสสารอินทรีย์ ที่ยังเหลืออยู่ให้หมดไป ก่อนจะถ่ายเทไปยังถังตกตะกอน

4. น้ำใสจากบ่อตกตะกอนจะถูกแยกและปั๊มออกมายังบ่อพัก หลังจากมีการตรวจสอบคุณสมบัติน้ำว่าตรง ตามระเบียบ ของทางรัฐบาลแล้ว จึงจะปล่อยน้ำลงยังแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากจะปล่อยน้ำลงในแม่น้ำ แล้ว ยังมีการใช้น้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วในการรดน้ำต้นไม้และล้างทำความสะอาดบริเวณโรงเบียร์ อีกด้วย

5. สิ่งที่เหลืออยู่ในถังตกตะกอนจะถูกส่งไปยัง sludge thickener ซึ่งจะแยกน้ำที่เหลือออก

6. ตะกอนที่เหลือจะน้ำไปผ่านเครื่องแยกน้ำจากตะกอน ซึ่งจะแยกน้ำออกจากตะกอนเป็นครั้งสุดท้าย ส่วนตะกอนที่เหลือในขั้นตอนนี้จะถูกนำไปใช้เป็นปุ๋ย หรือผลิตภัณฑ์อื่น ส่วนน้ำที่ได้จากขั้นตอนนี้ จะถูกปั๊มเข้าไปยังระบบบำบัดน้ำทิ้งอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณภาพ น้ำจะอยู่ในระดับ ที่สามารถ ปล่อยออกจากระบบได้

7. ในขั้นตอนการบำบัดน้ำทิ้งจะได้ก๊าซชีวภาพด้วย ซึ่งก๊าซจะถูกนำไปใช้ในการต้มเบียร์ ทำให้สามารถ ประหยัดพลังงานได้อย่างมาก


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/03 13:35:26
อ่าน: 259, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจวัตุดิบทำเบียร์ , ตรวจน้ำในการผลิตเบียร์ , ตรวจ ฉลากบรรจุภัณฑ์เบียร์



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 544 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 801 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 925 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 777 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022