ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

ปลูกกัญชาขายเชิงพาณิชย์ เกษตรกรตัวเล็กมีโอกาสแค่ไหน ข้อจำกัดมากมาย หรือจะมีแต่รายใหญ่ทำได้?

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 หลังจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 โดยระบุว่าให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศ

ประกาศนี้มีผลให้ปลูกกัญชาและกัญชงในประเทศไทยได้ และสามารถนำส่วนต่างๆ ของกัญชา กัญชง ที่ปลูกในประเทศไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ โดยต้องมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol: THC ) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก แต่สารสกัดที่มี THC เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษอยู่

กระทรวงสาธารณสุขในยุคสมัยของรัฐมนตรีว่าการชื่อ อนุทิน ชาญวีรกูล ผลักดันกัญชาเสรีทางการแพทย์สำเร็จตามที่พรรคภูมิใจไทยของเขาหาเสียงเอาไว้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด

ในมิติทางเศรษฐกิจ หลายครั้งหลายหนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้บริหาร อย. พูดว่า กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่จะสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ประชาชนไทย

อย่างล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา ใน ‘มหกรรมกัญชา 360 องศา ปลดล็อกกัญชา ประชาชนได้อะไร’ ที่กระทรวงสาธารณสุขจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่สนามช้างอินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงประโยชน์จากการนำสารสกัดกัญชามาใช้รักษาและดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้น รวมถึงต่อยอดเศรษฐกิจครอบครัว

ตลาดกัญชาระดับโลกนั้นเป็นตลาดขนาดใหญ่ ข้อมูลจาก Fortune Business Insights บอกว่า ปี 2563 ตลาดกัญชาทั่วโลกมีมูลค่า 20,470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 710,574 ล้านบาท) ปี 2564 มีมูลค่า 28,266 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 981,197 ล้านบาท) และคาดว่าจะเติบโตเป็น 197,740 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6,864,144 ล้านบาท) ในปี 2571 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ปีละ 32.04 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปี 2564-2571

และกัญชาไทยที่ว่าคุณภาพดีก็ย่อมมีโอกาสในตลาดโลกไม่น้อยแน่นอน

สำหรับประเทศไทยเรา นายอนุทินเปิดเผยเมื่อวันที่ 10 มิถุนายนว่า หลังจากที่ประเทศไทยเปิดโอกาสให้นำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ได้ตั้งแต่ปี 2562 ผลิตภัณฑ์จากกัญชา กัญชง เป็นที่ต้องการอย่างมาก เฉพาะในปี 2564 ปีเดียว ผลิตภัณฑ์จากกัญชาและกัญชงสร้างรายได้หมุนเวียนเป็นมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาทไปแล้ว

และข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 กระทรวงสาธารณสุขได้อนุญาตการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีส่วนประกอบของกัญชากัญชงและสารสกัด CBD เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและตำรับยาไทย แล้ว 1,181 รายการ

แต่มูลค่ามหาศาลในตลาดกัญชานั้น เป็นโอกาสของประชาชน-เกษตรกรตัวเล็กๆ น้อยๆ มากน้อยแค่ไหน?

สำหรับคนที่จะนำกัญชามาแปรรูป ผสมอาหาร-เครื่องดื่ม ผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์นั้น แน่นอนว่ามีโอกาส อย่างน้อยก็ในระยะเริ่มต้น ขณะที่ตลาดกำลังตื่นตัว

สำหรับคนที่จะปลูกเพื่อใช้เองในครัวเรือน ก็ทำได้

หรือจะปลูกแล้วนำไปแปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่มเล็กๆ น้อยๆ รวมถึงขายให้ร้านอาหารใกล้บ้านแบบย่อมๆ ถ้าศึกษาข้อมูลมีความรู้เรื่องการแปรรูปพร้อมแล้ว ก็ทำได้

แต่ถ้าจะปลูกขายปริมาณมากๆ เป็นแปลง เป็นโรงเรือนขนาดใหญ่ขายเชิงพาณิชย์ ส่งเข้าสู่อุตสาหกรรมแปรรูปกัญชา จะสามารถทำได้ไหม คำตอบคือ ไม่ง่าย

กัญชาไม่เหมือนพืชผลการเกษตรชนิดอื่นๆ ที่ประชาชนสามารถปลูกแล้วไปหาตลาดขายเองได้ แม้จะบอกว่าเปิดเสรีเพื่อให้ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไม่มีสถานะเป็นยาเสพติดอย่างเมื่อก่อนแล้ว แต่การจะปลูกขายในเชิงพาณิชย์นั้นค่อนข้างยาก มีหลายคนที่สนใจอยากเป็นเกษตรกรปลูกกัญชาขายในเชิงพาณิชย์ แต่ศึกษาข้อมูลแล้วต้องถอนตัวถอนใจตั้งแต่ยังไม่เริ่ม

ความยากที่ว่านี้มีอะไรบ้าง มาดูกันต่อ

1. เกษตรกรจะขออนุญาตปลูกกัญชาเชิงพาณิชย์ต้องทำแบบรวมกลุ่ม ทำเดี่ยวๆ ไม่ได้ : การจะขออนุญาตปลูกกัญชาเพื่อส่งขายในเชิงพาณิชย์ได้ ต้องมีสถานะทางกฎหมายก่อน อันดับแรกคือ เกษตรกรต้องรวมตัวกันในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์การเกษตร จึงเป็นข้อจำกัดแรกว่า หากรวมกลุ่มไม่ได้ ก็อาจจะไม่ได้ทำ หรือหากรวมกลุ่มได้แล้ว ในการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์การเกษตร นั้นก็มีขั้นตอนมากมายที่ต้องดำเนินการ

2. ต้องหาผู้ซื้อที่นำไปแปรรูปให้ได้ก่อน : ต่อมาเมื่อรวมตัวเป็นวิสาหกิจ หรือสหกรณ์การเกษตรแล้ว ต้องหาผู้ซื้อให้ได้ก่อน โดยต้องทำสัญญาเป็นผู้ผลิตให้กับ

-หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษา วิจัย หรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือสภากาชาดไทย

-สถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย และจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์ หรือเภสัชศาสตร์

3. ต้องจัดเตรียมการเพาะปลูกให้ อย.ตรวจ : ถ้าจัดตั้งรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์ เรียบร้อยแล้ว หาผู้รับซื้อและทำสัญญากันแล้ว กลุ่มผู้ปลูกต้องจัดเตรียมสถานที่สำหรับเพาะปลูกกัญชาให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ อย.

ในกรณีที่กลุ่มเกษตรกรทำในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน หน่วยงานที่ทำสัญญารับซื้อกัญชาจากวิสาหกิจชุมชน ต้องยื่นขออนุญาตผลิต (ปลูก) กัญชา ต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยระบุว่าวิสาหกิจชุมชนเป็นผู้ร่วมดำเนินการ ส่วนกรณีทำในรูปแบบสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์เป็นผู้ยื่นขออนุญาตผลิต (ปลูก) กัญชาเอง

จากนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงาน อย. ตรวจสอบพื้นที่ปลูกกัญชาของวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์ แล้วเสนอให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษพิจารณาอนุญาตการผลิต (ปลูก)

4. คนที่อยากปลูกกัญชาเชิงพาณิชย์ อาจจะยังไม่มีความรู้มากพอ : การปลูกกัญชาต้องมีความรู้ความเข้าใจ ผู้ที่สนใจอยากปลูกกัญชาเพื่อขายเชิงพาณิชย์ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับกัญชาให้เข้าใจก่อนทั้งในด้านวิชาการการปลูกกัญชา และด้านตลาดการค้าขาย ซึ่งก็ยังน่าเป็นห่วงว่าประชาชนทั่วไปได้รับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับกัญชาจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาเกษตรกรมากน้อยเพียงใด

5. ถ้าปลูกโดยยังไม่มีผู้ซื้อ เสี่ยงสูญเงินลงทุน : กัญชามีสายพันธุ์หลากหลาย แต่ละสายพันธุ์มีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน เหมาะจะนำไปใช้ประโยชน์ต่างกัน และเหมาะกับการเพาะปลูกต่างระบบ-ต่างรูปแบบ นั่นจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ต้องหาผู้ซื้อให้ได้ก่อน เพื่อที่จะวางแผนการผลิตได้ว่าต้องปลูกสายพันธุ์ใด ปลูกแบบไหน และต้องมีการตรวจวัดคุณภาพกัญชาโดยผู้ซื้อ ซึ่งควรทำงานควบคู่กัน เป็นที่ปรึกษากันตั้งแต่เริ่มปลูก การคิดว่าจะปลูกเองไปก่อนแล้วค่อยหาผู้ซื้อนั้น นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังเสี่ยงจะสูญเงินลงทุนไปเปล่าๆ

6. ต้นทุนการผลิตไม่น้อย รายเล็กอาจไม่ไหว : การปลูกกัญชามี 3 ระบบ ได้แก่ ระบบเปิดคือเป็นแปลงเปิดกลางแจ้ง (outdoor cultivation) หรือแบบกึ่งปิด คือรูปแบบโรงเรือน (semi-indoor cultivation) และระบบปิด (indoor cultivation)

การปลูกแบบแปลงกลางแจ้งมีต้นทุนต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการปลูก ถ้าปลูกเพื่อผลิตเมล็ด ต้นทุนต่อไร่ 8,242.51 บาท ถ้าปลูกเพื่อผลิตเส้นใย ต้นทุนต่อไร่ 9,028.82 บาท ส่วนรายได้สุทธิ (หักค่าใช้จ่ายแล้ว) การปลูกเพื่อผลิตเมล็ดมีรายได้ 18,007.82 บาทต่อไร่ ปลูกเพื่อผลิตเส้นใยมีรายได้ 13,471.18 บาทต่อไร่

การปลูกระบบกึ่งปิด หรือแบบโรงเรือนแบบกึ่งปิด (green house) ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าโรงเรือนแบบระบบปิด มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยประมาณ 800-1,000 บาทต่อตารางเมตร

การปลูกระบบปิด หรือแบบโรงเรือนปิด ในช่วงแรกต้องลงทุนค่อนข้างสูง เฉพาะส่วนระบบควบคุมและเครื่องมือต่างๆ โดยเฉลี่ยประมาณ 35,000-50,000 บาทต่อตารางเมตร ยังไม่รวมต้นทุนวัสดุทางการเกษตรที่ใช้สำหรับปลูก

การจะปลูกระบบไหน อาจจะเลือกเองตามกำลังต้นทุนไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับสายพันธุ์กัญชา และวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ และพิจารณาความเหมาะสมตามสภาพแวดล้อมหลายๆ ด้านด้วย

ทั้งนี้ ข้อมูลการขอและการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อัปเดตถึงวันที่ 18 เมษายน 2565 มีการขออนุญาตดำเนินการพืชกัญชารวม 2,351 ฉบับ ประกอบด้วย นำเข้า 12 ฉบับ, ครอบครอง 106 ฉบับ, ผลิต (ปลูก) 458 ฉบับ, ผลิต (แปรรูป/สกัด) 41 ฉบับ, ผลิต (ปรุง) 6 ฉบับ, ส่งออก 1 ฉบับ และจำหน่าย 1,650 ฉบับ

และมีการขออนุญาตกัญชง ทั้งหมด 2,361 ฉบับ ประกอบด้วย นำเข้า 110 ฉบับ, ครอบครอง 21 ฉบับ, ผลิต (ปลูก) 2,041 ฉบับ, ผลิต (แปรรูป/สกัด) 14 ฉบับ, ส่งออก 1 ฉบับ และจำหน่าย 174 ฉบับ

ส่วนการอนุญาตผลิต (ปลูก) มีผู้ได้รับอนุญาตปลูกกัญชา 397 ราย พื้นที่ปลูก 110 ไร่ จำนวน 245,000 ต้น และมีผู้ได้รับอนุญาตปลูกกัญชง 2,041 ฉบับ (877 ราย) พื้นที่ปลูก 4,845 ไร่

ด้วยกฎเกณฑ์ ข้อกำหนด และมาตรฐานการผลิตต่างๆ รวมถึงความยากอื่นๆ ที่เรายังค้นหาข้อมูลไปไม่ถึง

จึงเป็นที่น่าจับตามองว่า เกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปที่อยากเป็นเกษตรกรปลูกกัญชา-กัญชงขาย จะมีโอกาสมากน้อยเพียงใด หรืออาจจะมีเพียงผู้ผลิตรายใหญ่ๆ และกลุ่มผู้ที่มีคอนเน็กชั่นกับผู้ผลิต (แปรรูป) เท่านั้นที่สามารถปลูกกัญชาในเชิงพาณิชย์ได้?

ยังไม่ได้พูดถึงในแง่ของตลาด ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ตลาดจะมีความต้องการผลผลิตกัญชาจากผู้ปลูกรายย่อยไปอีกนานเท่าใด

ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ที่เปิดให้นำกัญชาและกัญชงมาใช้ทางการแพทย์ได้ ก็มีข่าวให้เห็นอย่างต่อเนื่องว่าบริษัททั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต่างสนใจเข้ามาในธุรกิจกัญชา-กัญชง อย่างเช่น บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมยางพาราระดับโลกก็เริ่มธุรกิจปลูกกัญชงไปตั้งแต่ปีที่แล้ว บริษัทอสังหาริมทรัพย์อย่าง ณุศาศิริ ก็ทุ่มทุนเกือบ 2,000 ล้านบาททำธุรกิจกัญชา-กัญชง ซึ่งรวมทั้งการปลูกเองด้วย และยักษ์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมอาหารอย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ก็เข้ามาในธุรกิจกัญชงแล้ว ซึ่งได้รับการอนุญาตครบวงจร ตั้งแต่นำเข้าเมล็ดพันธุ์ เพาะปลูก ไปจนถึงแปรรูป


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/09/28 15:32:55
อ่าน: 275, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวกัญชา กัญชง เพื่อขอ อย. , ตรวจสาร THC , ตรวจสาร CBD



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 543 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 801 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 799 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 925 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 800 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 777 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022