ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

คลินิกภาษีน้ำพริก อยากขายน้ำพริกต้องรู้

น้ำพริก อาหารพื้นเมืองที่มีอยู่ในสำรับกับข้าวคนไทยมาตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา การปรุงน้ำพริกสูตรเด็ด นับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถสร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้แก่เจ้าของสูตร มานักต่อนัก เพราะผลตอบแทนจากกำไรมากกว่า 50% ทำให้มีน้ำพริกสูตรใหม่ๆ เกิดขึ้นในท้องตลาดจนสร้างชื่อกระฉ่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเมื่อมีรายได้ดีแล้วก็ต้องทำหน้าที่ด้านภาษีให้ครบถ้วนด้วยเช่นกัน

ก่อนตำ-ทำความรู้จัก
น้ำพริก เป็นอาหารไทย ประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง นิยมทานคู่กับผัก โดยโขลกพริกและเครื่องเทศให้ละเอียด ใช้ทานกับข้าวหรือทำน้ำจิ้ม น้ำพริกนั้นมีหลายชนิดตามส่วนประกอบหรือเครื่องปรุงที่ใส่ลงไป และเมื่อดัดแปลงหรือเพิ่มเติมส่วนผสมพิเศษ ก็จะได้น้ำพริกรสใหม่ที่เรียกชื่อแตกต่างกันไปตามส่วนผสมหลักนั้น โดยแบ่งได้ตามส่วนประกอบทั่วไป และแบ่งประเภทตามวิธีหุงต้ม

เรื่องนี้ต้องขยาย

ประเภทนํ้าพริกตามส่วนประกอบทั่วไป

นํ้าพริกมาตรฐาน มีส่วนประกอบหลักคือ พริกสด กระเทียม กะปิ กุ้งแห้ง นํ้าตาลปึก มะนาว นํ้าปลาเล็กน้อย เรียกว่า นํ้าพริกกะปิ โดยนํ้าพริกต่างๆ จะมีเครื่องปรุงที่อยู่ในเกณฑ์ของนํ้าพริกมาตรฐานทั้งสิ้น

นํ้าพริกที่ใส่ของเปรี้ยวแทนมะนาว เช่น มะม่วง มะขาม และผักที่มีรสเปรี้ยว โดยมีเครื่องปรุงเหมือนนํ้าพริกมาตรฐานทุกอย่าง เมื่อใช้สิ่งใดเพิ่มเป็นพิเศษจะเรียกชื่อตามส่วนผสม เช่น นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะม่วง

นํ้าพริกที่ใส่ของเค็มแทนกะปิ เช่น หนำเลี้ยบ เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ โดยไม่ใส่กะปิ ส่วนผสมเครื่องปรุงอื่นใส่เหมือนนํ้าพริกมาตรฐานทุกอย่าง แล้วเรียกชื่อตามเครื่องปรุงที่ใช้ เช่น นํ้าพริกหนำเลี้ยบ นํ้าพริกเต้าหู้ยี้

นํ้าพริกที่ใส่ส่วนผสมอื่นเพิ่มเติม เช่น มะเขือพวง ผักชี ข่า แมงดา ไข่ปูทะเล มักเรียกชื่อตามส่วนผสมที่ใช้ปรุงนั้นๆ เช่น นํ้าพริกมะเขือพวง นํ้าพริกข่า นํ้าพริกไข่ปูทะเล (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์, 2535)

ประเภทนํ้าพริกตามวิธีหุงต้ม
ประเภทรับประทานสด ในขั้นตอนการทำหรือตำนํ้าพริก จะไม่ใช้ความร้อนในการประกอบอาหารเลย เช่น นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง นํ้าพริกส้มมะขามเปียก

ประเภทที่ต้องเผาส่วนผสม เช่น พริก กระเทียม กะปิ หอมแดง ต้องนำไปเผา เพื่อให้เกิดกลิ่นหอม เช่น นํ้าพริกเผา นํ้าพริกแจ่ว นํ้าพริกหนุ่ม

ประเภทผัด หลังจากตำส่วนผสมของนํ้าพริกแล้ว จึงนำลงมาผัดกับนํ้ามันพืชให้สุกและหอม แล้วปรุงรส เช่น นํ้าพริกมะขามสด นํ้าพริกลงเรือ นํ้าพริกระกำ (วัลยา, 2537)

ทิปรสเด็ด

คนโบราณมีวิธีการทำให้กะปิไม่เหม็น โดยนำกะปิไปย่างให้สุกก่อนทุกครั้ง ความร้อนจากการปิ้งย่างจะทำให้แคลเซียมในเนื้อกะปิทำงานได้ดีขึ้น

หากคุณต้องการหารายได้งามๆ จากการตำน้ำพริกสูตรเด็ด ก่อนอื่นคุณต้อง จดทะเบียนธุรกิจ ตามรูปแบบกิจการที่ต้องการ คือ สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล เป็นต้น
หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ระบบภาษีด้วยการ ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร และ ยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีมีรายได้จากการขายน้ำพริกเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนกับกรมสรรพากร และ/หรือต้องการเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกน้ำพริกกับกรมศุลกากร)
ซึ่งเมื่อคุณทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หน้าที่ทางภาษีที่ตามมาคือ คุณต้อง จัดทำรายงานภาษี เพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

น้ำพริกรสเด็ด...สินค้าสร้างรายได้
น้ำพริกหลากรส เมนูคู่ครัวคนไทยทุกยุคสมัย กับเสน่ห์ของกลิ่นและรสชาติที่กลมกล่อมบวกกับความเผ็ดจี๊ดจ๊าด หากไม่อยากลงแรงโขลกเครื่องปรุงที่มีกรรมวิธีการทำที่ค่อนข้างซับซ้อนให้เมื่อยมือ น้ำพริกสำเร็จรูป ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อร่อยลงตัว

ด้วยสูตรแท้แต่โบราณที่สามารถทำได้ง่ายๆ จึงมีผู้ผลิตทั้งระดับชาวบ้านจนกระทั่งผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่ต่างก็คิดค้นสูตรความอร่อยเฉพาะตัว ช่วยลดขั้นตอนการปรุงที่ยุ่งยาก ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา อีกทั้งยังส่งกลิ่นหอมหวนชวนรับประทานตามแบบฉบับตำรับไทย ให้คนไทยหรือคนทั่วไปนำไปจี้ดจ๊าดกันได้สบายๆ

เมื่อลงแรงโขลกน้ำพริกจนเป็นธุรกิจแล้ว ก็จะมีในเรื่องภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง คุณเพียงดำเนินการกับกรมสรรพากรเพื่อ ออกใบกำกับภาษี และการ จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากนั้นดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการภาษีให้เรียบร้อย แล้วไปนั่งคอยนับกำไรจากธุรกิจได้อย่างสบายใจ

แสวงหา วัตถุดิบ

ขึ้นชื่อว่าน้ำพริกแน่นอนว่าเป็นอาหารท้องถิ่นแต่ละภูมิภาค วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจึงหาได้จากในประเทศ แต่บางครั้งความต้องการของตลาดก็สำคัญเช่นกัน คุณต้องรู้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ชอบทานน้ำพริกอะไร เพื่อจะได้เลือกน้ำพริกถูกปากรสชาติถูกใจ

และเมื่อ น้ำพริก ของคุณ ต้องการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง หรือต้องการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าสินค้า คุณอาจลอง นำเข้าวัตถุดิบ เช่น กระเทียม หอมแดง พริกขี้หนูแห้ง และ/หรือ นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น เครื่องชั่ง เครื่องบด ขวดบรรจุ ถ้วยตวง เครื่องกวน เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ เครื่องชั่งน้ำหนัก ฯลฯ

สิ่งที่คุณต้องดำเนินการก่อนการนำเข้าสินค้าประดามีข้างต้น ก็คือ ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยทำการลงทะเบียนในครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น ต่อไปหากคุณจะนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ หรือส่งออกน้ำพริกไปขายยังต่างประเทศก็ไม่ต้องลงทะเบียนซ้ำอีก

จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนพิธีการนำเข้า โดยต้องศึกษา พิกัดอัตราศุลกากรขาเข้า ของสินค้าต่างๆ ให้ดี เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรที่คุณจะต้องชำระ ณ ด่านศุลกากรต่างๆ เช่น ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก หรือทางไปรษณีย์ เป็นต้น และอาจมีสินค้าบางชนิดที่มี ข้อจำกัดในการนำเข้าของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ คุณจึงต้องไม่ลืมตรวจสอบด้วย

น้ำพริกน่ารู้
ตำน้ำพริกให้ได้เงินแล้ว จะต้องทำการชำระภาษีอากรกับทางกรมศุลกากร 2 กรณี ดังนี้

กรณีน้ำพริกสำเร็จรูป ได้รับการยกเว้นอากร แต่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีวัตถุดิบ เช่น หอมแดง หอมหัวใหญ่ พริกแห้ง กระเทียม พริกไทย น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ฯลฯ ทั้งนี้ ต้องดูรายละเอียดในพิกัดศุลกากร และข้อจำกัดในการนำเข้าของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

การหาแหล่งวัตถุดิบ อาจจะทำสัญญารับซื้อจากเกษตรกร เพื่อป้องกันการขาดตลาด หรือนำเข้าวัตถุดิบบางชนิดในบางฤดูกาลที่อาจมีไม่เพียงพอ หากธุรกิจขยายจนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน

สร้างฐานตลาดทั่วไทย ให้กระจายไกลทั่วโลก

เสน่ห์ของอาหารไทยอยู่ที่ความจัดจ้านในรสชาติ ร้อยละ 98 ของคนทั่วไปจึงนิยมรับประทานน้ำพริกเป็นอาหารจานหลัก ในขณะที่ร้อยละ 64 นิยมรับประทานน้ำพริกเป็นประจำทุกวัน ซึ่งน้ำพริกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือน้ำพริกกะปิ (ร้อยละ 54.5) น้ำพริกปลาร้า (ร้อยละ 12.6) นอกนั้นคือ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง น้ำพริกนรก น้ำพริกปลาทู และน้ำพริกอ่อง

ความต้องการของตลาดในปัจจุบันและในอนาคตของตลาดส่งออกน้ำพริก อันดับ 1 คือ สหรัฐอเมริกา เพราะมีคนไทยอยู่อาศัยและมีร้านอาหารไทยมากมาย รองลงมาคือ ตลาดยุโรป และยังมีกลุ่มประเทศ เยอรมนี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

เนื่องจากผู้ผลิตน้ำพริกหลายรายมุ่งผลิตเพื่อการส่งออก แต่ละรายจึงพยายามรักษาสูตรดั้งเดิม และเพิ่มเติมสูตรใหม่ๆ แต่ต้องไม่ลืมที่จะรักษา ความสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ผ่านการผลิต บรรจุหีบห่อ และการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าก่อนนำมาจำหน่าย โดยบรรจุในภาชนะที่สะอาด ปิดได้สนิท และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้ มีน้ำหนักสุทธิตรงกับที่ระบุไว้ที่ฉลาก พร้อมติด เครื่องหมายและฉลาก ข้อแนะนำในการบริโภคและการเก็บรักษาที่เห็นได้ง่ายชัดเจนร่วมด้วย

การส่งออกน้ำพริกนั้นคุณต้องผ่านขั้นตอน พิธีการส่งออกสินค้า การออกใบกำกับภาษี จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีประเภทต่างๆ

น้ำพริกน่ารู้

รู้ไว้...ได้ประโยชน์ น้ำพริกส่งออกไม่ต้องเสียภาษีอากร

น้ำพริกส่งออก นอกจากจะไม่ต้องเสียอากรขาออกแล้ว ผู้ส่งออกยังสามารถขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับน้ำพริกประเภทพิกัดอัตราศุลกากร 2103.90.90 ในอัตราร้อยละ 0.19 ของราคาส่งออก

ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ ผลิต นำเข้า ส่งออก

ตำกระจาย...รายได้งาม

รายได้ที่เกิดขึ้นจากการขายน้ำพริก ไม่ว่าจะ นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อจำหน่าย ผลิตเพื่อจำหน่าย-ส่งออก หรือ เป็นผู้ส่งออก สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องทำคือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตภัณฑ์น้ำพริก ดังนี้

- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนการผลิตและจำหน่ายน้ำพริกนั้น คุณอาจต้องมีการว่าจ้างแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว และ/หรือพนักงานประจำ ฯลฯ กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน รวมไปถึงการให้บริการ การโฆษณา การและขนส่ง กระบวนการทั้งหมดนี้ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้ง โดยคุณมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงินได้

- ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์น้ำพริกทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

เรื่องน่ารู้คู่ภาษี
คุณสามารถทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดี เสียภาษีประจำปี ตามรูปแบบในการจดทะเบียนดังนี้

- ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง แสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เสียภาษีภายในเดือนกันยายนในแต่ละปี และแสดงรายการภาษีเดือนมกราคม-ธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เสียภาษีภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป

- ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง

ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เสียภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เสียภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากในขั้นตอนการผลิตคุณได้ซื้อวัตถุดิบบางอย่างมา และสิ่งที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาด้วย (คุณเป็นผู้รับภาระเสียภาษีส่วนนั้น) ดังนั้น ในการตั้งราคาขายน้ำพริกของคุณ อาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้อง ออกใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสด ให้ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

สำหรับกรณีที่น้ำพริกสร้างรายได้จากยอดขายให้คุณมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ

การยื่นแสดงภาษี

ข่าวดี... ภาษีน่ารู้
สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

มีรายได้ครั้งหน้า...อย่าลืมเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ

ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/09/28 15:01:44
อ่าน: 274, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานน้ำพริก , ตรวจบรรจุภัณฑ์น้ำพริก , ฉลากฉลากโภชนาการน้ำพริก



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 543 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 801 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 799 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 925 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 800 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 777 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022