ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

ระวัง!ภัยใกล้ตัวจากยาทาเล็บ

โปรดทราบๆ คุณผู้หญิงทั้งหลายอย่าเพิ่งวางใจกับยาทาเล็บที่คุณใช้อยู่ทุกวี่ทุกวันว่าปลอดภัยหายห่วง เพราะของที่คุณใช้อยู่นั้นอาจมีสารอันตราย หรือสีห้ามใช้หรือโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว ปรอทปนเปื้อน เมื่อใช้ทาเล็บมือแล้วไปหยิบจับบริโภคอาหาร อาจสัมผัสกับปากเกิดการดูดซึมปนเปื้อนเข้าไปในร่างกายเป็นอันตราย หรือหากได้รับในปริมาณมากอาจไตวาย รวมทั้งทำลายเนื้อเยื่อสมองได้ และเร็วๆ นี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจปรามปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ได้เข้าจับกุมยาทาเล็บและผลิตภัณฑ์บำรุงเล็บปลอมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท

รู้แล้วหนาวแทนคุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามจังเลย แต่อย่าเพิ่งกังวลใจมากไป เพราะเราเชิญ พญ.ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังจากโรงพยาบาลผิวหนังอโศก มาแนะนำเกี่ยวกับยาทาเล็บอย่างคลุมเพื่อความปลอดภัย

ส่วนประกอบในยาทาเล็บ

พญ.ฐิตาภรณ์ กล่าวว่า ยาทาเล็บทั่วไปที่ใช้กันอยู่มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ไนโตรเซลลูโลส (Nitrocellulose) ฟอร์มาลดีไฮด์ เรซินโทลูอีน ไดบิวทิล พทาเลต โดยส่วนผสมในยาทาเล็บที่ควรระวังและอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ได้แก่ ไดบิวทิล พทาเลต (Dibutyl Phthalate) เป็นสารที่ใช้ในยาทาเล็บเพื่อให้ทาได้ง่าย เรียบ มีความยืดหยุ่นดี ควรใช้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็งและทำให้มีความผิดปกติในการคลอดพิการแต่กำเนิด จึงไม่แนะนำให้ใช้ในสตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร (เนื่องจากทำให้มีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ในเพศชายได้)

ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) เป็นสารกันเสียที่ใช้ในน้ำยาเคลือบเงาเล็บ ทำให้ยาเคลือบเงาเล็บแข็งและเกาะกับเล็บได้ดีและนาน แต่ฟอร์มาลดีไฮด์ทำให้เกิดอาการแพ้ ผื่นผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสได้ และโทลูอีน (Toluene) เป็นตัวทำละลายที่ผสมในน้ำยาเคลือบเงาเล็บเพื่อให้ทาได้ง่าย แต่ทำให้เกิดผื่นแพ้ได้และทำให้เกิดอาการบวมแดงเมื่อขยี้ตา การใช้นานๆ ติดต่อกันอาจทำให้เกิดความผิดปกติของการเจริญเติบโต การทำงานของระบบประสาท ระบบอิมมูน และเป็นสารก่อมะเร็ง

ยาล้างเล็บส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบสำคัญ คือ อะซีโตน (Acetone) เป็นตัวทำละลาย ทำให้เวลาเปิดแล้วเราได้กลิ่นฉุนๆ และเมื่อสูดดมติดต่อกันนานๆ จะทำให้เวียนศีรษะและเกิดอาการทางระบบประสาทได้ เมื่อใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำให้เล็บเปราะบาง เนื้อเล็บขุ่นและขาดความเงางาม คุณหมอผู้เชี่ยวชาญบอกส่วนประกอบยาทาเล็บที่ผู้ใช้ต้องรู้

การเก็บรักษาและวิธีใช้

คุณหมอแนะนำว่า ยาทาเล็บควรปิดฝาให้สนิทและเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อยืดอายุการใช้งานและเก็บในที่ๆ ปลอดภัยจากมือเด็ก เวลาก่อนจะใช้ให้นำออกมาวางทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง ส่วนการใช้น้ำยาเคลือบเงาเล็บแบบใสทาทับยาทาเล็บเพื่อเคลือบให้เล็บเป็นเงา สวยงาม ลดการกร่อนและหักของเล็บ เมื่อทาแล้วต้องทิ้งไว้ให้แห้งนาน 15 นาที เนื่องจากถ้าเล็บยังไม่แห้งแล้วไปถูกผิวหนังส่วนอื่นของร่างกายอาจเกิดการระคายเคืองได้ เมื่อยาทาเล็บแห้งสนิทแล้วมักจะไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ เพราะส่วนใหญ่จะแพ้สารที่ใช้เคลือบเล็บ ไม่ควรทาเล็บสีเข้มติดต่อกันนานๆ ควรสลับสีอ่อนบ้าง และหยุดพักการทาเล็บบ้าง


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/09/24 15:47:30
อ่าน: 242, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสารต่างๆในยาทาเล็บ , ตรวจสาร ไดบิวทิล พทาเลต ในยาทาเล็บ , ตรวจสาร ฟอร์มาลดีไฮด์



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 543 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 801 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 800 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 925 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 777 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022