ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

สารเคมีในครีมกันแดด ทาเพียงครั้งเดียวก็ซึมเข้ากระแสเลือดได้

องค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration: FDA) ของสหรัฐอเมริกา พบว่า สารเคมีที่ใช้ทั่วไปในครีมกันแดดหลายชนิดสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดของคนได้จนเกินระดับที่ปลอดภัย แม้ว่าจะใช้เพียงแค่วันเดียว

สอดคล้องกับบทความในวารสารการแพทย์ JAMA (The Journal of the American Medical Association) ที่ระบุว่า ความเข้มข้นของสารเคมีบางอย่างในเลือดจะเพิ่มขึ้น หากใช้ครีมกันแดดติดต่อกันประจำทุกวันอย่างต่อเนื่อง และจะตกค้างอยู่ภายในร่างกายเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

สารเคมีดังกล่าวคือ อโวเบนโซน (Avobenzone) ออกซิเบนโซน (Oxybenzone) อีคัมซูล (Ecamsule) และ ออคโตคริลีน (Octocrylene) ซึ่งสารทั้ง 4 เหล่านี้ล้วนอยู่ในบัญชีรายชื่อของ FDA ที่ยังไม่ถูกพิจารณาว่าเป็น สารที่ปลอดภัย

โดย FDA ทำการทดลองจากอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 24 คน แต่ละคนจะได้รับการสุ่มใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของอโวเบนโซน, ออกซิเบนโซน หรือออคโตคริลีน แตกต่างกันไป โดยอาสาสมัครจะต้องทาครีมกันแดดลงทั่วผิวหนัง คิดเป็น 75 เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย 4 ครั้งต่อวัน หลังจากนั้นภายใน 7 วัน ทางทีมวิจัยจึงทำการทดสอบโดยการตรวจเลือด

ผลพบว่า อาสาสมัคร 5 ใน 6 คน ที่ใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของอีคัมซูล มีระดับของสารอีคัมซูลในเลือดสูงหลังจากทาครีมกันแดดวันแรก ส่วนอาสาสมัครคนที่เหลือที่ทดลองโดยใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารอื่น ทุกคนมีระดับออกซิเบนโซนอยู่ในกระแสเลือดสูงหลังจากการใช้วันแรก

สำหรับทางออก ในสหภาพยุโรปได้กำหนดให้ใช้สารกันแดดชนิดใหม่แทนการใช้สารออกซิเบนโซน แต่ผลิตภัณฑ์นั้นยังไม่ได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัย จึงยังไม่ถูกอนุมัติโดย FDA ดังนั้นจึงพบว่า ยังมีการใช้ออกซิเบนโซนอยู่มากในหลายประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา

ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า เป็นเรื่องปกติที่ผิวหนังมนุษย์จะดูดซึมสารต่างๆ เข้าไป ดังนั้นสิ่งที่ผู้ผลิตควรตระหนักคือการตรวจสอบว่าสารเคมีเหล่านี้ส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่ โดยเฉพาะในครีมกันแดด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปกป้องผิวหนังของเราจากรังสีต่างๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้

ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/09/23 15:53:34
อ่าน: 258, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสอบสารเคมี ในครีมกันแดด , ตรวจสาร อโวเบนโซน (Avobenzone) ออกซิเบนโซน (Oxybenzone) , ตรวจสาร อีคัมซูล (Ecamsule) และ ออคโตคริลีน (Octocrylene)



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 643 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 669 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 905 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 903 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1090 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 889 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 904 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 889 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 949 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 886 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022