“เซ็นทรัลแล็บไทย” พาชมการพัฒนาสินค้าชุมชน (OTOP)และแปลงเกษตรอินทรีย์
นายนราวิทย์ เปาอินทร์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง(ประเทศไทย) จำกัด หรือ เซ็นทรัลแล็บไทย (Central Lab Thai) เปิดเผยว่า บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง(ประเทศไทย)จำกัด หรือ เรียกย่อว่า เซ็นทรัลแล็บไทย ซึ่งเป็นแล็บของรัฐที่เปิดให้บริการด้านการตรวจและทดสอบผลทางห้องปฏิบัติการให้ได้ตามมาตรฐานสินค้า ด้านสินค้าการเกษตรและอาหาร เพื่อการส่งออกและบริโภคภายในประเทศ เช่น การบริการตรวจสารพิษตกค้างในผักและผลไม้,บริการตรวจเชื้อจุลินทรีย์ทั้งก่อโรคและไม่ก่อโรค สารเคมี และโลหะหนักในผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เป็นต้น
ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปยังการสร้างกลไกทางการตลาด เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการฯ ภายใต้ โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต(SME Strong/Regular Level) ทีทางเซ็นทรัลแล็บ ได้ร่วมกับ 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย
1.สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะตรวจเรื่องกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ GMPว่าสะอาดปลอดภัยถูกสุขลักษณะหรือไม่ ,
2.โปรแกรมสนับสนุนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ไอแทบ(Innovation Technology Assistance Program : ITAP) ภายใต้การดูแลของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม(อว.) จะมาดูเรื่อง เครื่องมือหรือ เทคโนโลยีนำมาใช้ เพื่อนำ SMEไทยให้ก้าวไกล ด้วยมิติใหม่แห่งนวัตกรรม
และ3.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนากลางและขนาดย่อม(สสว.) หรือSME จะเข้ามาช่วยเหลือเรื่องทุนทางการตลาด ให้กับกลุ่มผู้ส่งออก กลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจการเกษตร SMEs OTOP วิสาหกิจชุมชน เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลเต็มรูปแบบ
ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ เพื่อศึกษาดูงานการพัฒนาสินค้าชุมชน(OTOP) และเยี่ยมชมแปลงเกษตรอินทรีย์ (ไม่ใช้สารเคมี)จังหวัดเลยในการต่อยอดให้ได้มาตรฐานการส่งออก ในระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน 2562 ร่วมทั้งการจัด“กิจกรรมเสวนา “เปิดห้องปฏิบัติการกับเซ็นทรัลแล็บไทย ครั้งที่ 7” ในหัวข้อ “สร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์(ที่ปลอดสารเคมี) เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ” ให้กับเกษตรกร ที่จ.เลยที่เข้าร่วมรับฟังมี่องค์ความรู้ในการสร้างรายได้สูงขึ้น
พร้อมเยี่ยมชมการพัฒนาสินค้าชุมชน(OTOP) มะพร้าวแก้วเชียงคาน สินค้าขึ้นชื่อของ อ.เชียงคาน จ.เลย ของนางไกรสร สีสว่าง เจ้าของร้าน เชียงคานมะพร้าวแก้ว ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาสินค้าฯ โดยเซ็นทรัลแล็บ ได้ร่วมกับ อย. ITAP และ สสว. เมื่อปีที่ผ่านมา(พ.ศ. 2561)
จุดแรก คือ การเยี่ยมชมแปลงเกษตรอินทรีย์ ออร์แกนิก 100% ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกป่ากาแฟบ้านหนองแคน อ.นาด้วง จ.เลย ของนางสุปรานี มืดทับไทย เกษตรกรบ้านหนองแคน เจ้าของแปลง กาแฟชื่นเลย บนเนื้อที่ 20 ไร่ ที่ปลูกป่ากาแฟแบบออร์แกนิก 100% ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า แต่ใช้ปุ๋ยคอก ที่ผ่านการรับรองจากจังหวัดเลย เพื่อต่อยอดในการจะยกระดับสินค้าใน โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการฯ ภายใต้ โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต SME Strong/Regular Level
ในครั้งนี้ได้รับการต้อนรับจาก นายชนาส ชัชวาลวงส์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ด้านสังคม และนางเกศษิณ ลำมะยศ เกษตรจังหวัดเลย ร่วมเดินทางไปเยี่ยมชม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกป่ากาแฟบ้านหนองแคน อ.นาด้วง จ.เลย ของนางสุปรานี มืดทับไทยด้วย พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า การร่วมเดินทางลงพื้นที่กับทางเซ็นทรัลแล็บไทย เพื่อให้ผู้ผลิตได้คิดสิ่งที่ได้รับประโยชน์ว่าถ้าเขาทำมันคือความยั่งยืน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การสร้างความเข้าใจ สร้างองค์ความรู้ ประโยชน์ที่จะได้รับจากเกษตรอินทรีย์หรือการใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งถือเป็นหัวใจหรือหลักสำคัญว่าให้ผลดีกับผู้ทำและผู้นำไปใช้
ปัจจุบันเยาวชนเริ่มให้ความสนใจเรื่องของเกษตรมากขึ้น ทางจังหวัดจะให้เรื่องการศึกษาความเข้าใจหลักโดยปลูกฝังความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริงที่ไม่หรอกลวง เมืองเลยถือเป็นเมืองท่องเที่ยวธรรมชาติ และเป็นเมืองสุขภาพ อากาศบริสุทธิ์ ได้บริโภคอาหารปลอดภัย นี่คือหัวใจของ จ.เลย
ด้านนางสุปรานี เกษตรกรผู้ปลูกไร่กาแฟแบบออร์แกนิก 100% เล่าว่า ที่มาปลูกไร่กาแฟแบบออร์แกนิกโดยไม่ใช่ปุ๋ยเคมี เนื่องจากรู้สึกว่าสุขภาพตนและสามีไม่ดี เพราะก่อนที่จะมาทำแบบออร์แกนิกหรืออินทรีย์นี้ใช้ปุ๋ยเคมีมาตลอดและให้ผลผลิตดีแต่ราคาขายจะถูก ส่วนผลผลิตจากที่ได้การทำแบบอินทรีย์แม้ว่าจะได้ผลผลิตน้อยแต่ได้ราคาสูง บางครั้งจะรู้สึกท้อแท้บ้างก็ตาม แต่ด้วยที่ได้มีการอบรมทางเกษตรนาด้วงมาให้ความรู้บ่อยๆจึงเกิดแรงบันดาลใจและพอทำก็รู้สึกว่าไม่ยากอย่างที่คิด รวมทั้งยังดีต่อสุขภาพของผู้ปลูกและผู้บริโภครวมทั้งยังยั่งยืนเพราะช่วยลดต้นทุนการผลิตเรื่องของปุ๋ยไปได้มาก
จากนั้นเดินทางต่อไปยัง การพัฒนาสินค้าชุมชน(OTOP) มะพร้าวแก้วเชียงคาน สินค้าขึ้นชื่อของ อ.เชียงคาน จ.เลย ของนางไกรสร สีสว่าง เจ้าของร้าน เชียงคานมะพร้าวแก้ว ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาสินค้าฯ โดยเซ็นทรัลแล็บ ได้ร่วมกับ อย. ITAP และ สสว. เมื่อปีที่ผ่านมา(พ.ศ. 2561) เพื่อดูถึงกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
นางไกรสร เล่าถึงที่มาของการเข้าโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารฯกับเซ็นทรัลแล็บและอีก 3 หน่วยงานว่า ลูกค้ามีความมั่นใจ และขายดีมากขึ้น ขั้นตอนการทำจะว่ายากก็ยาก ง่ายก็ง่าย ส่วนที่ยากเพราะทุกคนกลัวไปก่อน ขอให้ลงมือทำอย่ากลัว แม้ว่ากระบวนการทำในการให้ผ่านการรับรองมาตรฐานกับเซ็นทรัลแล็บจะมียากบ้างก็ตาม ที่ยากเพราะเราไม่ชิน แต่ขอให้ทำแล้วมันดีร่วมทั้งยั่งยืนด้วย ส่วนกระบวนการผลิตมะพร้าวแก้วมันหลายขั้นตอนและมีหลายเกรดหรือหลายราคา ถ้าเป็นเกรดเอ ตัวเนื้อมะพร้าวจะนิ่มนุ่ม เกรดบีก็จะแข็งขึ้นมาหน่อยแต่ก็อร่อย เป็นต้น
เจ้าของร้านมะพร้าวแก้วเชียงคาน เล่าต่อว่า ตอนนี้ลูกค้าสั่งเยอะมากจนขายแถบไม่ทัน เพราะทางร้านมีการพัฒนาเปิดขายทางออนไลน์ด้วย มันเป็นการต่อยอดพัฒนาสินค้าของเราให้มีมาตรฐาน และยิ่งได้รับการรับรองจากหน่วยงานต่างๆของภาครัฐแล้ว
ต่อมาพาไปชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของสวนลุงวุฒิ อ.ภูเรือ จ.เลย ซึ่งเป็นอีกแหล่งหนึ่งในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับไม้เมืองหนาว เช่น แคคตัด และสัปปะรดสี กล้วยไม้ และอื่นๆ จนนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมอย่างไม่ขาดสายและซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรติดไม้ติดมือกลับบ้านไปปลูก
จุดสุดท้ายคือ ไร่ธารธรรม ซึ่งเป็นไร่ที่เกษตรกรรุ่นใหม่ น.ส.ธนกัญพัชร ทิ้งโคตร เป็นคนทำ อยู่บ้านปากหมาก ต.ศรีสองรัก อ.เมือง จ.เลย จุดเด่นคือใช้ศาสตร์พระราชาเข้ามาพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือการเลี้ยงเป็ดที่ได้ไข่แดงมีคุณภาพ ที่เจ้าของไร่ตั้งชื่อว่า ไข่เป็ดอารมณ์ดี
ทั้งหมดนี้คือต้นแบบการพัฒนาและการสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรไทยเพิ่มรายได้สูงขึ้น
ข้อมูลจาก
http://link..
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ
ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร
เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่
เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์
โดย admin 2565/09/20 13:39:18
อ่าน: 180, ความเห็น: 0,
e
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ